คำถามที่ถูกถามมากที่สุด



คำถามที่ถูกถามมากที่สุด





คำถามที่ถูกถามมากที่สุด

สวัสดิภาพนิรันดร์มาจากพระคัมภีร์หรือไม่?




คำถาม: สวัสดิภาพนิรันดร์มาจากพระคัมภีร์หรือไม่?

คำตอบ:
เมื่อมนุษย์รู้จักพระคริสต์ในฐานะพระผู้ช่วยให้รอดของเขา เขาก็จะมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าซึ่งเป็นหลักประกันความรอดนิรันดร์ของเขา พระคัมภีร์ยูดาห์ข้อ 24 กล่าวว่า “บัดนี้แด่พระองค์ผู้ทรงสามารถคุ้มครองรักษาท่านมิให้ล้มลง และทรงนำท่านให้ตั้งอยู่จำเพาะสง่าราศีของพระองค์โดยปราศจากตำหนิ และมีความร่าเริงยินดีอย่างเหลือล้น” ฤทธิอำนาจของพระเจ้าสามารถคุ้มครองรักษาไม่ให้ผู้เชื่อล้มลงในความบาปได้ ทั้งนี้และทั้งนั้นมันขึ้นอยู่กับพระองค์ ไม่ใช่เรา ว่าจะทรงตั้งเราให้อยู่จำเพาะสง่าราศีของพระองค์หรือไม่ สวัสดิภาพนิรันดร์ของเรามาจากผลของการที่พระเจ้าทรงคุ้มครองรักษาเรา ไม่ใช่ผลของการคุ้มครองรักษาความรอดของเราด้วยตัวเราเอง

องค์พระเยซูคริสต์ทรงประกาศว่า “เราให้ชีวิตนิรันดร์แก่แกะนั้น และแกะนั้นจะไม่พินาศเลย และจะไม่มีผู้ใดแย่งชิงแกะเหล่านั้นไปจากมือของเราได้ พระบิดาของเราผู้ประทานแกะนั้นให้แก่เราเป็นใหญ่กว่าทุกสิ่ง และไม่มีผู้ใดสามารถชิงแกะนั้นไปจากพระหัตถ์ของพระบิดาของเราได้” (ยอห์น 10:28-29ข) ทั้งพระเยซูและพระบิดาทรงจับเราไว้แน่นในพระหัตถ์ของพระองค์ แล้วใครเล่าจะสามารถดึงเราออกจากพระหัตถ์ที่ยึดแน่นของทั้งพระบิดาและพระบุตรได้?

เอเฟซัส 4:30 บอกเราว่าผู้เชื่อถูก “ประทับตราหมายไว้จนถึงวันที่ทรงไถ่ให้รอด” หากผู้เชื่อไม่มีสวัสดิภาพนิรันดร์ การประทับตราก็ไม่สามารถจะยืนยาวไปถึงวันแห่งการทรงไถ่ได้ มันคงไปถึงแค่วันที่เราเริ่มทำบาป, มีความเชื่อที่บิดเบือนไป, หรือไม่เชื่อ ยอห์น 3:15-16 บอกเราว่าผู้ที่เชื่อในพระเยซูคริสต์จะ “มีชีวิตนิรันดร์” หากเราได้รับสัญญว่าจะได้รับชีวิตนิรันดร์ แต่ไป ๆ มา ๆ ถูกเรียกคืน สัญญานั้นก็ไม่ใช่สัญญา “นิรันดร์” ตั้งแต่ต้นแล้ว หากสวัสดิภาพนิรันดร์ไม่เป็นความจริง พระสัญญาเกี่ยวกับขีวิตนิรันดร์ในพระคัมภีร์ก็คงจะเป็นข้อผิดพลาดแน่นอน

ข้อยืนยันที่หนักแน่นเกี่ยวกับสวัสดิภาพนิรันดร์มาจากข้อพระคัมภีร์โรม 8:38-39 “เพราะข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า แม้ความตาย หรือชีวิต หรือทูตสวรรค์ หรือผู้มีบรรดาศักดิ์ หรือฤทธิ์เดชทั้งหลาย หรือสิ่งซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันนี้ หรือสิ่งซึ่งจะมีในภายหน้า หรือซึ่งสูง หรือซึ่งลึก หรือสิ่งอื่นใดๆที่ได้ทรงสร้างแล้วนั้น จะไม่สามารถกระทำให้เราทั้งหลายขาดจากความรักของพระเจ้า ซึ่งมีอยู่ในพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราได้” สวัสดิภาพนิรันดร์ของเราขึ้นอยู่กับความรักของพระเจ้าที่มีต่อผู้ที่พระองค์ทรงไถ่ไว้ สวัสดิภาพนิรันดร์ของเราถูกซื้อมาโดยพระคริสต์, โดยพระสัญญาจากพระบิดา, และประทับตราโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์





สวัสดิภาพนิรันดร์มาจากพระคัมภีร์หรือไม่?

เกิดอะไรขึ้นหลังความตาย?




คำถาม: เกิดอะไรขึ้นหลังความตาย?

คำตอบ:
คำถามที่ถามว่าเกิดอะไรขึ้นหลังความตายอาจทำให้เราเกิดความสับสนได้ พระคัมภีร์ไม่ได้บอกชัดเจนว่าเราจะไปถึงจุดหมายปลายทางนิรันดร์เมื่อไหร่ แต่บอกว่าในทันทีที่คน ๆ หนึ่งเสียชีวิต เขาจะถูกพาไปสวรรค์หรือไม่ก็นรกทันที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเขาได้ต้อนรับพระคริสต์เข้ามาเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของเขาแล้วหรือไม่ สำหรับผู้เชื่อ ชีวิตหลังความตายคือการละสังขารไปอยู่กับพระเจ้า (2 โครินธ์ 5:6-8; ฟีลิปปี 1:23) สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อ ชีวิตหลังความตายหมายถึงการถูกลงโทษนิรันดร์ในนรก (ลูกา 16:22-23)

จุดที่อาจทำให้เกิดความสับสนได้ว่าเกิดอะไรขึ้นหลังความตายอยู่ตรงนี้ คือหนังสือวิวรณ์บทที่ 20:11-15 บรรยายว่าผู้ที่อยู่ในนรกจะถูกผลักทิ้งลงไปในบึงไฟ วิวรณ์บทที่ 21-22 พูดถึงสวรรค์ใหม่และโลกใหม่ ดังนั้น ดูเหมือนว่าหลังจากที่คน ๆ หนึ่งตายไป เขาจะไปอยู่ในสวรรค์หรือไม่ก็นรก “ชั่วคราว” จนกว่าจะถึงเวลาที่เขาจะฟื้นขึ้นมาในตอนสุดท้าย จุดหมายปลายทางนิรันดร์ของผู้ที่ตายไปแล้วจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่ “สถานที่” ที่เขาจะไปอยู่ชั่วนิรันดร์จะเปลี่ยนไป ณ จุด ๆ หนึ่งหลังความตาย ผู้เชื่อจะถูกส่งไปยังสวรรค์ใหม่และโลกใหม่ (วิวรณ์ 21:1) ณ จุด ๆ หนึ่งหลังความตาย ผู้ไม่เชื่อจะถูกโยนลงไปในบึงไฟ (วิวรณ์ 20:11-15) นี่เป็นจุดหมายปลายทางสุดท้ายของทุกคน – ขึ้นอยู่กับว่าเขาได้เชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์แต่เพียงผู้เดียวหรือไม่ว่าทรงเป็นผู้ไถ่เขาให้รอดพ้นจากความบาป





เกิดอะไรขึ้นหลังความตาย?

คริสเตียนมีมุมมองเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายอย่างไร? พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายว่าอย่างไร?




คำถาม: คริสเตียนมีมุมมองเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายอย่างไร? พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายว่าอย่างไร?

คำตอบ:
ตามมุมมองจากพระคัมภีร์ การฆ่าตัวตายไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่าคน ๆ นั้นจะได้ขึ้นสวรรค์หรือไม่ หากเขายังไม่ได้รับความรอด การฆ่าตัวตายของเขาก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลย นอกจากจะเป็นการ “เร่ง” ให้เขาไปสู่บึงไฟนรก “เร็วขึ้น” เท่านั้น อย่างไรก็ตามในที่สุดเขาก็จะต้องตกไปอยู่ในบึงไฟนรกอยู่ดี ไม่ใช่เพราะการฆ่าตัวตายของเขา แต่เพราะการปฎิเสธความรอดผ่านทางพระเยซูคริสต์ของเขาต่างหาก พระคัมภีร์กล่าวถึงคนสี่คนที่ฆ่าตัวตาย คือซาอูล (1 ซามูเอล 31:4) อาหิโธเฟล (2 ซามูเอล 17:23), ซิมรี (1 พงศ์กษัตริย์ 16:18), และยูดาส (มัทธิว 27:5) คนเหล่านี้แต่ละคนชั่วร้ายและเป็นคนบาป พระคัมภีร์มองว่าการฆ่าตัวตายคือการฆ่าคน - นั่นคือ – การฆ่าตัวเอง พระเจ้าคือผู้เดียวที่เป็นผู้ตัดสินว่าเมื่อไหร่คน ๆ นั้นจะถึงเวลาตาย และจะตายอย่างไร การนำอำนาจนี้มาใช้เสียเองพระคัมภีร์ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทพระเจ้า

พระคัมภีร์พูดถึงคริสเตียนที่ฆ่าตัวตายว่าอย่างไร? ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าคริสเตียนที่ฆ่าตัวตายจะสูญเสียความรอดและต้องตกนรก พระคัมภีร์สอนว่าตั้งแต่วินาทีแรกที่คน ๆ นั้นเชื่อในพระคริสต์อย่างแท้จริงเขาก็จะปลอดภัยชั่วนิรันดร์ (ยอห์น 3:16) ตามที่พระคัมภีร์สอนไว้ คริสเตียนรู้อย่างไม่ต้องสงสัยว่าเขาได้รับชีวิตนิรันดร์แล้วไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น “ข้อความเหล่านี้ข้าพเจ้าได้เขียนมาถึงท่านทั้งหลายที่เชื่อในพระนามของพระบุตรของพระเจ้า เพื่อท่านทั้งหลายจะได้รู้ว่าท่านมีชีวิตนิรันดร์ และเพื่อท่านจะได้เชื่อในพระนามของพระบุตรของพระเจ้า” (1 ยอห์น 5:13) ไม่มี “สิ่งใดที่ได้ถูกทรงสร้างขึ้นมา” สามารถแยกคริสเตียนออกจากความรักของพระเจ้าได้! “เพราะข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า แม้ความตาย หรือชีวิต หรือทูตสวรรค์ หรือผู้มีบรรดาศักดิ์ หรือฤทธิ์เดชทั้งหลาย หรือสิ่งซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันนี้ หรือสิ่งซึ่งจะมีในภายหน้า หรือซึ่งสูง หรือซึ่งลึก หรือสิ่งอื่นใดๆที่ได้ทรงสร้างแล้วนั้น จะไม่สามารถกระทำให้เราทั้งหลายขาดจากความรักของพระเจ้า ซึ่งมีอยู่ในพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราได้” (โรม 8:38-39) หากไม่มีสิ่งใดที่ “ทรงสร้าง” ขึ้นมาสามารถแยกคริสเตียนออกจากความรักของพระเจ้าได้ คริสเตียนคนที่ฆ่าตัวตายก็เป็นสิ่งที่พระองค์ “ทรงสร้าง” เช่นกัน ดังนั้นแม้การฆ่าตัวตายของเขาก็ไม่อาจแยกเขาออกจากความรักของพระเจ้าได้ พระเยซูทรงสิ้นพระชนม์เพื่อไถ่บาปทั้งสิ้นให้กับเรา … และหากว่าคริสเตียนแท้จะฆ่าตัวตายขึ้นมา ในขณะที่เขาถูกโจมตีฝ่ายวิญญาณและมีความอ่อนแอ ความบาปนั้นก็เป็นความบาปที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อไถ่ไว้แล้วเช่นกัน

นี่ไม่ได้หมายความว่าการฆ่าตัวตายไม่ใช่ความบาปที่ร้ายแรงต่อพระเจ้า ตามที่มีปรากฏในพระคัมภีร์ การฆ่าตัวตายคือการฆาตกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดอยู่เสมอ ข้าพเจ้าสงสัยเหลือเกินว่าคนที่บอกว่าตัวเองเป็นคริสเตียนแล้วยังฆ่าตัวตายนั้น มีความเชื่อจริงหรือไม่ ไม่มีสถานการณ์ใดที่ต้องทำให้คน ๆ หนึ่ง โดยเฉพาะคนที่เป็นคริสเตียน ถึงกับต้องฆ่าตัวตาย คริสเตียนได้รับการทรงเรียกให้มีชีวิตอยู่เพื่อพระเจ้า - การตัดสินว่าเมื่อไหร่เขาจึงจะตายเป็นการตัดสินใจของพระเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียว บางทีวิธีอธิบายที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายสำหรับคริสเตียนคงต้องดูจากหนังสือเอสเธอร์ ในเปอร์เซียมีกฎว่าผู้ที่เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินโดยไม่ได้รับอนุญาตจะต้องถูกประหารชีวิต นอกจากพระเจ้าแผ่นดินจะทรงยื่นคฑามาที่เขาผู้นั้นเท่านั้น ซึ่งป็นการแสดงถึงพระเมตตาของพระองค์ การฆ่าตัวตายสำหรับคริสเตียนเปรียบเสมือนการเข้าเฝ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยไม่คอยให้พระเจ้าทรงเรียกเสียก่อน พระองค์จะทรงยื่นคฑามาที่ท่านแน่นอนเพื่อเป็นการช่วยชีวิตนิรันดร์ของท่าน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพระองค์จะทรงพอพระทัยในท่าน ถึงแม้ว่าข้อพระคัมภีร์ 1 โครินธ์ 3:15 จะไม่ได้พูดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย แต่มันก็เป็นคำอธิบายที่ดีว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคริสเตียนที่ฆ่าตัวตาย: “ต้วเขาเองจะรอด แต่เหมือนดังรอดจากไฟ”





คริสเตียนมีมุมมองเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายอย่างไร? พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายว่าอย่างไร?

เมื่อรอดแล้วเราจะรอดตลอดไปหรือไม่?




คำถาม: เมื่อรอดแล้วเราจะรอดตลอดไปหรือไม่?

คำตอบ:
เมื่อคน ๆ หนึ่งได้รับความรอดแล้ว เขาจะรอดตลอดไปหรือไม่? เมื่อมีคนเข้ามารู้จักกับพระคริสต์ในฐานะพระผู้ช่วยให้รอดของเขา เขาจะถูกนำเข้ามาให้มีความสัมพันธ์กับพระเจ้าซึ่งเป็นหลักประกันความรอดตลอดไปสำหรับเขา มีข้อพระคัมภีร์มากมายหลายข้อยืนยันความจริงนี้ (ก) โรม 8:30 กล่าวว่า “ยิ่งกว่านั้นบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงตั้งไว้นั้น พระองค์ได้ทรงเรียกมาด้วย และผู้ที่พระองค์ได้ทรงเรียกมานั้น พระองค์ได้ทรงโปรดให้เป็นผู้ชอบธรรม และผู้ที่พระองค์ทรงโปรดให้เป็นผู้ชอบธรรม พระองค์ก็ทรงโปรดให้มีสง่าราศีด้วย” ข้อพระคัมภีร์นี้บอกเราว่าตั้งแต่วินาฑีที่พระเจ้าได้ทรงเลือกเราไว้ ดูเหมือนว่าเราจะได้รับสง่าราศีจำเพาะพระพักตร์ของพระองค์บนสวรรค์ทันที ไม่มีอะไรที่จะขวางผู้เชื่อไว้จากสง่าราศีได้ เพราะพระเจ้าได้ทรงตั้งพระทัยไว้เช่นนั้นแล้วบนสวรรค์ ในทันทีที่ผู้เชื่อได้รับการตัดสินว่าเป็นคนชอบธรรม ความรอดของเขาได้รับการรับรองทันที - สถานภาพของเขาจะมั่นคงเหมือนเขาได้ขึ้นไปอยู่บนสวรรค์แล้วทีเดียว

(ข) ท่านอาจารย์เปาโลถามคำถามสำคัญสองคำถามในหนังสือโรม 8:33-34 “ใครจะฟ้องคนเหล่านั้นที่พระเจ้าได้ทรงเลือกไว้ พระเจ้าทรงเป็นผู้ที่ทำให้เราเป็นคนชอบธรรมแล้ว ใครจะฟ้องคนเหล่านั้นที่พระเจ้าได้ทรงเลือกไว้ พระเยซูคริสต์ผู้ทรงวายพระชนม์ ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ได้ทรงฟื้นคืนพระชนม์ และทรงประทับอยู่ ณ. เบื้องขวาของพระเจ้าและกำลังทรงอธิษฐานเผื่อพวกเรา” ใครจะฟ้องคนเหล่านั้นที่พระเจ้าได้ทรงเลือกไว้แล้ว? ไม่มีใคร เพราะพระคริสต์คือทนายของเรา ใครจะพิพากษาเราได้? ไม่มีใคร เพราะพระคริสต์ผู้เป็นผู้เดียวที่ทรงวายพระชนม์เพื่อเราคือผู้พิพากษา เรามีทั้งทนายและผู้พิพากษาเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของเรา

(ค) ผู้เชื่อได้รับการบังเกิดใหม่ (สร้างขึ้นมาใหม่) เมื่อเขารับเชื่อ (ยอห์น 3:3; ทิตัส 3:5) การที่คริสเตียนจะสูญเสียความรอดได้เขาจะต้องถูกถอดออกจากการบังเกิดใหม่ พระคัมภีร์ไม่ได้มีหลักฐานแสดงว่าการบังเกิดใหม่จะถูกยึดคืนได้ (ง) พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสถิตอยู่กับผู้เชื่อทุกคน (ยอห์น 14:17; โรม 8:9) และทรงให้บัพติศมาผู้เชื่อทุกคนให้เข้าเป็นกายอันเดียวกันกับพระคริสต์ (1 โครินธ์ 12:13) ดังนั้นสำหรับผู้เชื่อที่จะสูญเสียความรอดได้ พระวิญญาณบบริสุทธ์ะต้องถูก “ถอดออกไป” จากเขาและเขาจะต้องถูกตัดออกจากพระกายของพระคริสต์

(จ) ยอห์น 3:15 กล่าวว่าผู้ที่เชื่อในพระเยซูคริสต์จะ “มีชีวิตนิรันดร์” หากท่านเชื่อในพระคริสต์วันนี้และได้รับชีวิตนิรันดร์, แต่สูญเสียมันไปพรุ่งนี้, ชีวิตนิรันดร์ก็ไม่ได้เป็น “นิรันดร์” จริงตามความหมาย ดังนั้น หากท่านต้องสูญเสียชีวิตนิรันดร์, พระสัญญาในพระคัมภีร์เกี่ยวกับชีวิตนิรันดร์ก็ต้องเป็นความผิดพลาด (ฉ) สำหรับคำตอบที่สมบูรณ์ ข้าพเจ้าคิดว่าพระคัมภีร์กล่าวไว้ได้ดีที่สุด “เพราะข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า แม้ความตาย หรือชีวิต หรือทูตสวรรค์ หรือผู้มีบรรดาศักดิ์ หรือฤทธิ์เดชทั้งหลาย หรือสิ่งซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันนี้ หรือสิ่งซึ่งจะมีในภายหน้า หรือซึ่งสูง หรือซึ่งลึก หรือสิ่งอื่นใดๆที่ได้ทรงสร้างแล้วนั้น จะไม่สามารถกระทำให้เราทั้งหลายขาดจากความรักของพระเจ้า ซึ่งมีอยู่ในพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราได้” (โรม 8:38-39) จงจำไว้ว่าพระเจ้าผู้ทรงช่วยท่านให้รอดคือพระเจ้าองค์เดียวกับพระเจ้าผู้ทรงดูแลรักษาท่านอยู่ ดังนั้นเมื่อเรารอดแล้วเราก็จะรอดตลอดไป ความรอดของเราถูกรับประกันไว้แล้วชั่วนิรันดร์





เมื่อรอดแล้วเราจะรอดตลอดไปหรือไม่?

อะไรคือความสำคัญของการรับบัพติศมาของคริสเตียน?




คำถาม: อะไรคือความสำคัญของการรับบัพติศมาของคริสเตียน?

คำตอบ:
ตามพระคัมภีร์ การรับบัพติศมาของคริสเตียนเป็นการแสดงออกภายนอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นภายในชีวิตของผู้เชื่อ การรับศีลบัพติศมาของคริสเตียน แสดงให้เห็นถึงการเข้าส่วนของคริสเตียนในการวายพระชนม์ของพระคริสต์, การฝัง และ การฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์ พระคัมภีร์บอกว่า “ท่านไม่รู้หรือว่า เราทั้งหลายที่ได้รับบัพติศมาเข้าในพระเยซูคริสต์ ก็ได้รับบัพติศมานั้นเข้าในความตายของพระองค์ เหตุฉะนั้นเราจึงถูกฝังไว้กับพระองค์แล้วโดยการรับบัพติศมาเข้าส่วนในความตายนั้น เหมือนกับที่พระคริสต์ได้ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาจากความตาย โดยเดชพระรัศมีของพระบิดาอย่างไร เราก็จะได้ดำเนินตามชีวิตใหม่ด้วยอย่างนั้น” (โรม 6:3-4) ในการเข้าพิธีบัพติศมาของคริสเตียน การจุ่มลงไปในน้ำจนมิดแสดงถึงการถูกฝังร่วมกับพระคริสต์ การขึ้นมาจากน้ำแสดงถึงการฟื้นคืนพระชนม์

ในการเข้าพิธีบัพติศมา ผู้เข้าพิธีควรมีคุณสมบัติสองอย่าง: (1) ผู้ที่จะเข้าพิธีบัพติศมาต้องเชื่อในพระเยซูคริสต์ว่าทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของเขา, และ (2) เขาจะต้องเข้าใจว่าพิธีบัพติศมาเล็งถึงอะไร หากเขารู้จักพระเยซูคริสต์ว่าทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอด, เข้าใจว่าการเข้าพิธีบัพติศมาของคริสเตียนคือการก้าวออกไปด้วยความเชื่อฟัง เพื่อประกาศความเชื่อในพระคริสต์และแสดงความปรารถนาในการเข้าพิธีบัพติศมาของเขาต่อหน้าผู้คน ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะมาห้ามผู้เชื่อไม่ให้รับบัพติศมา ตามที่พระคัมภีร์บอกไว้ การรับบัพติศมาของคริสเตียนคือการก้าวออกไปด้วยความเชื่อฟัง, การป่าวประกาศต่อหน้าผู้คนถึงความเชื่อของเขาในพระคริสต์แต่เพียงผู้เดียวสำหรับความรอดของเขา การรับบัพติศมาของคริสเตียนเป็นเรื่องสำคัญเพราะมันเป็นก้าวแห่งความเชื่อฟัง - เป็นการประกาศความเชื่อของเขาในพระคริสต์และเป็นการผูกมัดตัวเองไว้กับพระองค์, และเข้าส่วนกับการวายพระชนม์, ฝัง และฟื้นขึ้นมาร่วมกับพระองค์





อะไรคือความสำคัญของการรับบัพติศมาของคริสเตียน?

พระคัมภีร์สอนเกี่ยวกับตรีเอกานุภาพไว้ว่าอย่างไร?




คำถาม: พระคัมภีร์สอนเกี่ยวกับตรีเอกานุภาพไว้ว่าอย่างไร?

คำตอบ:
สิ่งที่ยากที่สุดเกี่ยวกับแนวความคิดของคริสเตียนในเรื่องตรีเอกานุภาพคือ เราไม่มีทางที่จะอธิบายเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจนพอ เรื่องเกี่ยวกับตรีเอกานุภาพเป็นเรื่องที่มนุษย์ไม่สามารถจะเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ ดังนั้นจึงไม่ต้องพูดถึงการอธิบายว่าจะเป็นการยากยิ่งกว่าเพียงใด พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่กว่าเรามากมายเหลือคณานับ ดังนั้นเราจึงไม่ควรคาดหวังที่จะเข้าใจพระองค์อย่างเต็มที่ พระคัมภีร์สอนว่าพระบิดาทรงเป็นพระเจ้า, พระเยซูทรงเป็นพระเจ้า และพระวิญญาณบริสุทธิ์ก็ทรงเป็นพระเจ้าเช่นเดียวกัน แล้วพระคัมภีร์ก็สอนอีกว่ามีพระเจ้าองค์เดียว ถึงแม้ว่าเราจะเข้าใจข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแต่ละพระภาคในตรีเอกานุภาพต่อซึ่งกันและกัน, แต่สุดท้ายแล้ว, มันเป็นเรื่องเกินความเข้าใจของมนุษย์ แต่นี่ไม่ได้หมายความว่ามันไม่ได้เป็นความจริงหรือไม่ได้มีสอนไว้ในพระคัมภีร์

แต่จงระลึกเสมอเมื่อท่านศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า คำว่า “ตรีเอกานุภาพ” ไม่ได้มีปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ คำ ๆ นี้เป็นคำที่ถูกนำมาใช้ในการพยายามอธิบายพระลักษณะของพระเจ้า ว่าพระองค์ทรงมีสามพระภาคที่ประกอบกันเป็นหนึ่งเดียว ขอให้ท่านเข้าใจว่านี่ไม่ใช่เป็นการบอกว่ามีพระเจ้าสามพระองค์ ตรีเอกานุภาพ ประกอบด้วยพระเจ้าพระองค์เดียวแต่ทรงมีสามพระภาค ไม่มีอะไรผิดที่จะใช้คำว่า “ตรีเอกานุภาพ” แม้ว่าคำ ๆ นี้จะไม่ได้มีปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ก็ตาม การพูดว่า “ตรีเอกานุภาพ” เป็นการพูดที่สั้นกว่าการที่จะพูดว่า “พระผู้ทรงมีสามพระภาคที่ประกอบกันเป็นหนึ่งเดียว” หากนี่ทำให้ท่านมีปัญหา จงลองพิจารณาดูว่าคำว่าปู่ก็ไม่ได้มีปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์เช่นเดียวกัน แต่เรารู้ว่ามีคนที่เป็นปู่หลายคนในพระคัมภีร์ อับราฮัมเป็นปู่ของยาโคบ เพราะฉะนั้นขออย่าให้ท่านติดอยู่กับคำว่า “ตรีเอกานุภาพ” ที่ควรถือว่าเป็นเรื่องสำคัญคือแนวความคิดที่หมายถึงตรีเอกานุภาพมีปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์จริง เมื่อพูดเกี่ยวกับคำนำจบแล้ว ตอนนี้ให้เรามาดูข้อพระคัมภีร์ที่พูดเกี่ยวกับตรีเอกานุภาพกันบ้าง

1) พระเจ้ามีพระองค์เดียว: เฉลยธรรมบัญญัติ 6:4; 1 โครินธ์ 8:4; กาลาเทีย 3:20; 1 ทิโมธี 2:5.

2) ตรีเอกานุภาพประกอบด้วยสามพระภาค: ปฐมกาล 1:1; 1:26; 3:22; 11:7; อิสยาห์ 6:8; 48:16; 61:มัทธิว 3:16-17; มัทธิว 28:19; 2 โครินธ์ 13:14 ในข้อพระคัมภีร์ต่าง ๆ ในพันธสัญญาเดิม ความรู้ทางภาษาฮีบรูช่วยได้มาก หนังสือปฐมกาล 1:1 ใช้คำว่า “เอลโลอิม” ซึ่งเป็นสรรพนามพหูพจน์ หนังสือปฐมกาล 1:26; 3:22; 11:7 และอิสยาห์ 6:8 ใช้คำว่า “เรา” ซึ่งเป็นคำสรรพนามพหูพจน์ คำว่า “เอลโลอิม” และคำว่า “เรา” หมายถึงมากกว่าสองโดยไม่ต้องสงสัย ส่วนภาษาอังกฤษมีอยู่สองรูปแบบเท่านั้น คือ เอกพจน์และพหูพจน์ ภาษาฮีบรูมีสามรูปแบบ คือ เอกพจน์, คู่, และพหูพจน์ คำว่าคู่หมายถึงสองเท่านั้น ในภาษาฮีบรูคำว่าคู่ใข้สำหรับสิ่งที่มาคู่กัน เช่น ตา, หู, และมือ คำว่า “เอลโลอิม” และคำสรรพนาม “เรา” เป็นคำพหูพจน์ – แน่นอนว่ามีความหมายมากกว่าสอง – และต้องหมายถึงสามหรือมากกว่า (พระบิดา, พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์)

ในหนังสือ อิสยาห์ 48:16 และ 61:1 พระบุตรทรงเป็นผู้ตรัส และทรงตรัสถึงพระบิดาและพระวิญญาณบริสุทธิ์ จงเปรียบเทียบข้อพระคัมภีร์อิสยาห์ 61:1 กับ ลูกา 4:14-19 แล้วท่านจะเห็นว่าพระบุตรทรงเป็นผู้ตรัส หนังสือมัทธิว 3:16-17 บรรยายถึงเหตุการณ์ในตอนที่พระเยซูทรงรับบัพติศมา ในภาพนี้ท่านจะเห็นว่าพระเจ้าพระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จมาเหนือพระเจ้าพระบุตรในขณะที่พระเจ้าพระบิดาทรงประกาศถึงความพอพระทัยในพระบุตร ข้อพระคัมภีร์มัทธิว 28:19 และ 2 โครินธ์ 13:14 เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงพระลักษณะที่แตกต่างกันสามพระลักษณะในตรีเอกานุภาพ

3) พระลักษณะในตรีเอกานุภาพแตกต่างกันออกไปในข้อพระคัมภีร์ต่าง ๆ: ในพันธสัญญาเดิม คำว่า “LORD” แตกต่างกับคำว่า “Lord” (ปฐมกาล 19:24; โฮเชยา 1:4) “พระเยโฮวาห์ (LORD)” ทรงมี “พระบุตร (Son)” (สดุดี 2:7, 12; สุภาษิต 30:2-4) พระวิญาณ (Spirit) ทรงแตกต่างจาก “พระเยโฮวาห์ (LORD)” (กันดารวิถี 27:18) และจาก “พระเจ้า (God)” (สดุดี 51:10-12) พระเจ้าพระบุตร (God the Son) ทรงแตกต่างจากพระเจ้าพระบิดา (God the Father) (สดุดี 45:6-7; ฮีบรู 1:8-9) ในพันธสัญญาใหม่ หนังสือยอห์น 14:16-17 แสดงถึงตอนที่พระเยซูตรัสกับพระบิดาเกี่ยวกับการส่งพระผู้ช่วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ลงมา นี่แสดงให้เห็นว่าพระเยซูไม่ได้ทรงคิดว่าพระองค์ทรงเป็นพระบิดาหรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ จงพิจารณาตอนอื่น ๆ ที่พระเยซูตรัสกับพระบิดาในหนังสือพระกิตติคุณประกอบด้วย พระองค์กำลังตรัสกับพระองค์เองหรือเปล่า? ไม่เลย พระองค์ตรัสกับอีกพระภาคหนี่งในตรีเอกานุภาพ – พระบิดา – ต่างหาก

4) แต่ละพระภาคในตรีเอกานุภาพคือพระเจ้า: พระบิดาทรงเป็นพระเจ้า: ยอห์น 6:27; โรม 1:7; 1 เปโตร 1:2 พระบุตรทรงเป็นพระเจ้า: ยอห์น 1:1, 14; โรม 9:5; โคโลสี 2:9; ฮีบรู 1:8; 1 ยอห์น 5:20 พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นพระเจ้า: กิจการ 5:3-4; 1 โครินธ์ 3:16 (ผู้ที่ทรงอยู่ในเราคือพระวิญญาณบริสุทธิ์ - โรม 8:9; ยอห์น 14:16-17; กิจการ 2:1-4)

5) การจำนนซึ่งกันและกันในตรีเอกานุภาพ: พระคัมภีร์แสดงให้เห็นว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงอยู่ภายใต้พระบิดาและพระบุตร, และพระบุตรทรงอยู่ภายใต้พระบิดา นี่เป็นความสัมพันธ์ภายใน และในตรีเอกานุภาพ ไม่ได้มีการปฎิเสธความเป็นพระเจ้าของพระภาคใดพระภาคหนึ่ง นี่เป็นสิ่งที่ความคิดที่มีความจำกัดของเราไม่อาจเข้าใจในความไม่จำกัดของพระเจ้าได้ เกี่ยวกับพระบุตร จงดู ลูกา 22:42; ยอห์น 5:36; ยอห์น 20:21; 1 ยอห์น 4:14 เกี่ยวกับพระวิญาณ จงดู ยอห์น 14:16; 14:26; 15:26; 16:7 และ ยอห์น16:13-14เป็นพิเศษ

6) งานของแต่ละพระภาคในตรีเอกานุภาพ: พระบิดาทรงเป็นแหล่งและที่มาของ: 1) จักรวาล (1 โครินธ์ 8:6; วิวรณ์ 4:11); 2) การเปิดเผยสำแดงจากเบื้องบน (วิวรณ์ 1:1); 3) ความรอด (ยอห์น 3:16-17); และ 4) งานของพระเยซูในสภาพมนุษย์ (ยอห์น 5:17; 14:10) พระบิดาทรงเป็นผู้ริเริ่มสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด

พระบุตรทรงเป็นผู้ที่ช่วยให้พระบิดาปฏิบัติพระราชกิจเหล่านี้ผ่านทางพระองค์: 1) การทรงสร้างและทำนุบำรุงจักรวาล (1 โครินธ์ 8:6; ยอห์น 1:3; โคโลสี 1:16-17); 2) การเปิดเผยสำแดงจากเบื้องบน (ยอห์น 1:1; มัทธิว 11:27; ยอห์น 16:12-15; วิวรณ์ 1:1); และ 3) ความรอด (2 โครินธ์ 5:19; มัทธิว 1:21; ยอห์น 4:42) พระบิดาทรงทำสิ่งเหล่านี้ผ่านทางพระบุตร ผู้ทรงทำหน้าที่เป็นสื่อให้กับพระองค์

พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นสื่อให้พระบิดาทรงกระทำสิ่งต่อไปนี้: 1) การทรงสร้างและทำนุบำรุงจักรวาล (ปฐมกาล 1:2; โยบ 26:13; สดุดี 104:30); 2) การเปิดเผยสำแดงจากเบื้องบน (ยอห์น 16:12-15; เอเฟซัส 3:5; 2 เปโตร 1:21); 3) ความรอด (ยอห์น 3:6; ทิตัส 3:5; 1 เปโตร 1:2); and 4) พระราชกิจของพระเยซู (อิสยาห์ 61:1; กิจการ 10:38) สิ่งเหล่านี้พระบิดาทรงกระทำโดยฤทธิเดชของพระวิญญาณบริสุทธิ์

ไม่มีตัวอย่างไหนสมบูรณ์พอที่จะนำใช้เพื่ออธิบายเกี่ยวกับตรีเอกานุภาพได้ ไข่ (หรือแอบเปิ้ล) เป็นตัวอย่างไม่ได้เพราะ เปลือก, ไข่ขาว และไข่แดงเป็นแต่ละส่วนที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นไข่ทั้งฟอง, แต่ตัวของมันเองแต่ละส่วนไม่ใช่ไข่ พระบิดา, พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ไม่ใช่ส่วนประกอบแต่ละส่วนที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นพระเจ้า แต่ แต่ละส่วนคือพระเจ้า น้ำดูจะเป็นตัวอย่างที่ดีกว่า แต่ยังไม่สมบูรณ์พอที่จะอธิบายภาพของตรีเอกานุภาพได้ ในแง่ที่ว่าของเหลว, ไอน้ำและน้ำแข็งเป็นองค์ประกอบของน้ำ แต่พระบิดา, พระบุตร, พระวิญญาณบริสุทธิ์ ไม่ได้ทรงเป็นองค์ประกอบของพระเจ้า, แต่ แต่ละพระภาคคือพระเจ้า ดังนั้น ถึงแม้ว่าตัวอย่างเหล่านี้อาจทำให้เรามองเห็นภาพของตรีเอกานุภาพขึ้นมาได้บ้าง แต่มันก็ไม่ชัดเจนอยู่ดี เราไม่สามารถแสดงภาพพระเจ้าผู้ทรงไร้ขอบเขต ด้วยภาพที่มีขอบเขตจำกัดได้ ดังนั้นแทนที่จะจดจ่ออยู่ที่ตรีเอกานุภาพ, จงจดจ่ออยู่กับความจริงในความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าและธรรมชาติที่ไร้ขอบเขตของพระองค์ที่อยู่เหนือความเข้าใจของเรา “โอ พระปัญญาและความรอบรู้ของพระเจ้านั้นล้ำลึกเท่าใด คำตัดสินของพระองค์นั้นเหลือที่จะหยั่งรู้ได้ และทางของพระองค์ก็เหลือที่จะสืบเสาะได้ เพราะว่า `ใครเล่ารู้จักพระทัยขององค์พระผู้เป็นเจ้า หรือใครเล่าเป็นที่ปรึกษาพระองค์” (โรม 11:33-34)





พระคัมภีร์สอนเกี่ยวกับตรีเอกานุภาพไว้ว่าอย่างไร?

พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับการถวายสิบลดไว้ว่าอย่างไร?




คำถาม: พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับการถวายสิบลดไว้ว่าอย่างไร?

คำตอบ:
การถวายสิบลดเป็นเรื่องที่คริสเตียนหลายคนมีปัญหากับมัน ในหลาย ๆ คริสตจักร การถวายสิบลดถูกเน้นมากเกินไป ในทำนองเดียวกัน คริสเตียนหลายคนปฏิเสธไม่ยอมทำตามพระคัมภีร์เกี่ยวกับการถวายให้กับพระเจ้า การถวายสิบลด/การถวาย ควรจะเป็นการกระทำด้วยความชื่นชมยินดี, และเป็นพระพร แต่เป็นที่น่าเสียใจว่ามันเกิดขึ้นเป็นส่วนน้อยในคริสตจักรในปัจจุบัน

การถวายสิบลดเป็นแนวความคิดที่มาจากพระคัมภีร์เดิม การถวายสิบลดเป็นกฎข้อบังคับสำหรับคนอิสราเอลทุกคน คนอิสราเอลจะต้องถวาย 10% ของทุกสิ่งที่เขาหามาได้และเพาะปลูกได้ไว้ที่พลับพลา/พระวิหาร (เลวีนิติ 27:30; กันดารวิถี 18:26; เฉลยธรรมบัญญัติ 14:24; 2 พงศ์ศาวดาร 31:5) บางคนเข้าใจว่าการถวายทศางค์ในพันธสัญญาเดิมเปรียบเสมือนการเสียภาษี เพื่อให้ปุโรหิตและคนเลวีได้มีกินมีใช้ ในพันธสัญญาใหม่ไม่มีที่ไหนสั่งหรือแม้แต่แนะนำให้คริสเตียนยอมรับกฎแห่งการถวายสิบลดอย่างเป็นทางการ ท่านอาจารย์เปาโลบอกว่าผู้เชื่อควรแยกรายรับไว้ส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนคริสตจักร (1 โครินธ์ 16:1-2).

ไม่มีที่ไหนในพันธสัญญาใหม่ที่บอกจำนวนเปอร์เซ็นต์ของรายได้ที่คริสเตียนจะต้องแยกไว้ แต่บอกว่าให้เป็นไป “ตามที่พระเจ้าได้ทรงให้ท่านจำเริญขึ้น” (1 โครินธ์ 16:2). คริสตจักรยกเอาตัวเลข 10% มาจากทศางค์ในพันธสัญญาเดิมแล้วนำมาประยุกต์ว่าเป็นจำนวน “ขั้นต่ำที่แนะนำ” สำหรับคริสเตียนในการถวาย อย่างไรก็ตามคริสเตียนไม่ควรมีความรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องถวายเสมอ เขาควรถวาย “ตามที่พระเจ้าได้ทรงให้ท่านจำเริญขึ้น” นี่หมายความว่า บางครั้งอาจมากกว่าจำนวนทศางค์ บางครั้งอาจน้อยกว่า ทั้งหมดขึ้นอยู่ก้บความสามารถของเขาและความจำเป็นของคริสตจักร คริสเตียนทุกคนควรอธิษฐานขอสติปัญญาจากพระเจ้าว่าเขาควรถวายหรือไม่และ/หรือ เท่าไหร่ (ยากอบ 1:5) “ทุกคนจงให้ตามที่เขาได้คิดหมายไว้ในใจ มิใช่ให้ด้วยนึกเสียดาย มิใช่ให้ด้วยการฝืนใจ เพราะว่าพระเจ้าทรงรักคนนั้นที่ให้ด้วยใจยินดี” (2 โครินธ์ 9:7).





พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับการถวายสิบลดไว้ว่าอย่างไร?

ผู้หญิงควรเป็นศิษยาภิบาล/นักเทศน์ไหม? พระคัมภีร์พูดถึงผู้หญิงที่ทำพันธกิจว่าอย่างไร?




คำถาม: ผู้หญิงควรเป็นศิษยาภิบาล/นักเทศน์ไหม? พระคัมภีร์พูดถึงผู้หญิงที่ทำพันธกิจว่าอย่างไร?

คำตอบ:
ในปัจจุบันคงไม่มีเรื่องใดที่มีการถกกันในคริสตจักรมากกว่าเรื่องผู้หญิงที่รับใช้ในฐานะศิษยาภิบาล/นักเทศน์ ดังนั้นการไม่มองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของการแข่งขันกันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายจึงเป็นเรื่องสำคัญ มีผู้หญิงหลายคนเชื่อว่าผู้หญิงไม่ควรรับใช้ในฐานะศิษยาภิบาลและพระคัมภีร์ก็มีข้อจำกัดเกี่ยวกับเรื่องพันธกิจของผู้หญิง - และมีผู้ชายหลายคนเชื่อว่าผู้หญิงรับใช้ในฐานะนักเทศน์ได้และไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับงานรับใช้ของผู้หญิง นี่ไม่ใช่เรื่องการเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือการเลือกที่รักมักที่ชัง แต่เป็นเรื่องของการตีความหมายในพระคัมภีร์

ข้อพระคัมภีร์ 1 ทิโมธี 2:11-12 กล่าวว่า “ให้ผู้หญิงเรียนอย่างเงียบๆและด้วยใจนอบน้อมทุกอย่าง ข้าพเจ้าไม่อนุญาตให้ผู้หญิงสั่งสอนหรือใช้อำนาจเหนือผู้ชาย แต่ให้เขานิ่งๆอยู่” ในคริสตจักรพระเจ้าทรงกำหนดบทบาทให้กับผู้หญิงและผู้ชายต่างกัน นี่เป็นผลจากวิธีการทรงสร้างมนุษย์ (1 ทิโมธี 2:13) และวิธีที่ความบาปที่เข้ามาในโลก (2 ทิโมธี 2:14) โดยการดลใจจากพระเจ้าอัครสาวกเปาโลไม่อนุญาตให้ผู้หญิงมีสิทธิอำนาจในการสอนฝ่ายวิญญาณเหนือผู้ชาย ข้อห้ามนี้ทำให้ข้อสงสัยเกี่ยวกับการเป็นเป็นศิษยาภิบาลของผู้หญิง ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงการเทศนา, สั่งสอน และการมีสิทธิอำนาจฝ่ายวิญญาณเหนือผู้ชายหมดไป

มี “ข้อโต้แย้ง” มากมายต่อมุมมองเกี่ยวกับพันธกิจของผู้หญิง/ศิษยาภิบาลหญิง ข้อที่เป็นที่รู้จักกันดีโต้ว่าการที่ท่านอาจารย์เปาโลห้ามผู้หญิงไม่ให้สอนก็เพราะว่าในศตวรรษแรกนั้นผู้หญิงไม่มีการศึกษา แต่ข้อพระคัมภีร์ 1 ทิโมธี 2:11-14 ไม่ได้พูดถึงเรื่องการศึกษาเลย หากการศึกษาเป็นเรื่องใหญ่ในพันธกิจ สาวกของพระเยซูส่วนใหญ่คงไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม ข้อโต้แย้งประการที่สองที่เป็นที่รู้จักกันดีเช่นกันดีโต้ว่าท่านอาจารย์เปาโลห้ามผู้หญิงในเมืองเอเฟซัสเท่านั้นไม่ให้สอน (1 ทิโมธี เป็นจดหมายที่ท่านเขียนถึงทิโมธีผู้เป็นศิษยาภิบาลของคริสตจักรแห่งเมืองเอเฟซัส) เมืองเอเฟซัสเป็นที่รู้จักกันดีว่ามีวิหารของเทพีอาร์เตมิส (เทพเทียมเท็จของกรีก/ โรมัน) ตั้งอยู่ และผู้หญิงเป็นผู้นำในการนมัสการเทพีอาร์เตมิส แต่หนังสือ 1 ทิโมธีไม่ได้พูดถึงเทพีอาร์เตมิสเลย และท่านอาจารย์เปาโลก็ไม่ได้พูดว่าการนมัสการเทพีอาร์เตมิสคือเหตุผลสำหรับข้อห้ามในหนังสือ 1 ทิโมธี 2:11-12

ข้อโต้แย้งประการที่สามที่เป็นที่รู้จักกันดีอีกข้อหนึ่งโต้ว่า ท่านอาจารย์เปาโลพูดถึงสามีและภรรยาเท่านั้น ไม่ใช่ผู้ชายและผู้หญิง รากศัพท์ภาษากรีกที่ใช้ในหนังสือ 1 ทิโมธี 2:11-14 อาจหมายถึงสามีและภรรยาก็ได้ แต่ความหมายพื้นฐานหมายถึงผู้ชายและผู้หญิง นอกจากนั้นคำ ๆ เดียวกันในภาษากรีกถูกนำมาใช้ในข้อ 8-10 ด้วย สามีเท่านั้นหรือที่ได้รับอนุญาตให้ยกมืออันบริสุทธิ์ปราศจากโทโสและการเถียงกันเพื่ออธิษฐาน (ข้อ 8)? และภรรยาเท่านั้นหรือที่ถูกกำหนดให้แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย, ประดับด้วยการกระทำดี และนมัสการพระเจ้า (ข้อ 9-10)? ไม่ใช่แน่นอน พระคัมภีร์ข้อ 8-10 เขียนว่าผู้ชายและผู้หญิง ไม่ใช่สามีและภรรยา ดังนั้น ในบริบทนี้จึงไม่ได้มีอะไรที่ชี้ให้เห็นเลยว่ามีการเปลี่ยนจากการใช้คำว่าผู้ชายและผู้หญิงมาเป็นสามีและภรรยาในข้อ 11-14

ข้อโต้แย้งที่ได้ยินบ่อย ๆ อีกข้อหนึ่งเกี่ยวกับ ศิษยาภิบาลหญิง/นักเทศน์หญิง เป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับ มิเรียม, เดโบราห์. ฮัลดาห์, ปริสสิลลา, เฟบี, ฯลฯ ผู้ซึ่งมีตำแหน่งผู้นำในพระคัมภีร์ ข้อโต้แย้งนี้ไม่ได้มองถึงความจริงที่สำคัญบางประการ คือ ในส่วนที่เกี่ยวกับเดโบราห์ เธอเป็นผู้วินิจฉัยหญิงคนเดียวในหมู่ผู้วินิจฉัยชาย 13 คน ในส่วนที่เกี่ยวกับฮัลดาห์ เธอเป็นผู้เผยวจนะหญิงคนเดียวท่ามกลางผู้เผยวจนะชายมากมายที่พระคัมภีร์กล่าวถึง ส่วนมิเรียม เธอเกี่ยวข้องในฐานะผู้นำเพราะเป็นพี่สาวของโมเสสและอาโรน ผู้หญิงอีกสองคนที่โดดเด่นในสมัยพงศ์กษัตริย์คืออาธาลิยาห์ และ เยซาเบล แต่ทั้งสองคนก็ไม่ได้เป็นตัวอย่างของผู้นำหญิงของพระเจ้าเลย

ในหนังสือกิจการบทที่ 18 ปริสสิลลากับอาควิลลา ถูกกล่าวถึงว่าเป็นผู้รับใช้ที่สัตย์ซื่อของพระคริสต์ ชื่อของปริสสิลลาถูกเอ่ยถึงก่อน (ในพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษ) ซึ่งหมายความว่างานรับใช้ของเธอคง “เด่น” กว่าของสามี แต่พระคัมภีร์ไม่ได้บอกไว้เลยว่าปริสสิลลารับใช้แย้งกับที่ข้อพระคัมภีร์ 1 ทิโมธี 2:11-14 กล่าวไว้ ปริสสิลลากับอาควิลลาเป็นคนที่รับอปอลโลมาที่บ้าน เพื่อสั่งสอนให้เขารู้ทางของพระเจ้าให้ถูกต้องยิ่งขึ้น(กิจการ18:26)

ในหนังสือโรม 16:1 แม้ว่าเฟบีจะถูกเรียกว่าเป็น “มัคนายก” ไม่ใช่ “ผู้รับใช้” แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเธอเป็นผู้สอนในคริสตจักร “สามารถสอนได้” เป็นคุณสมบัติของผู้ปกครอง ไม่ใช่มัคนายก (1 ทิโมธี 3:1-13; ทิตัส 1:6-9) ผู้ปกครอง/พระ/มัคนายกถูกบันทึกว่าต้อง “เป็นสามีของหญิงคนเดียว” “บังคับบัญชาบุตรทั้งหลายของตนได้” “เป็นที่เคารพ” นอกจากนั้น ในหนังสือ 1 ทิโมธี 3:1-13 และ ทิตัส 1-6-9 ศัพนามที่ใช้แทนเพศชายถูกนำมาเรียกผู้ปกครอง/พระ/มัคนายก

โครงสร้างของข้อพระคัมภีร์ 1 ทิโมธี 2:11-14 แสดง “เหตุผล” ชัดเจน ข้อ 13 เริ่มต้นด้วยคำว่า “ด้วยว่า” แล้วยก “สาเหตุ” ที่ท่านอาจารย์เปาโลกล่าวไว้ในข้อ 11-12 ว่าทำไมผู้หญิงจึงไม่ควรสอนหรือมีสิทธิอำนาจเหนือผู้ชาย นั่นคือ “พระเจ้าทรงเนรมิตสร้างอาดัมก่อน แล้วจึงทรงสร้างเอวา และอาดัมไม่ได้ถูกหลอกลวง แต่ผู้หญิงนั้นได้ถูกหลอกลวง” นี่คือเหตุผล พระเจ้าทรงสร้างอาดัมก่อนแล้วจึงทรงสร้างเอวาให้เป็น “ผู้ช่วย” อาดัม ขั้นตอนในการทรงสร้างมีผลมาถึงโครงสร้างของครอบครัว (เอเฟซัส 5:22-23) และคริสตจักรด้วย ความจริงที่ว่าเอวาถูกหลอก ลวง ก็เป็นเหตุผลด้วยว่าทำไมผู้หญิงจึงไม่ควรเป็นศิษยาภิบาลหรือมีสิทธิอำนาจฝ่ายวิญญาณเหนือผู้ชาย นี่จึงทำให้คนบางคนเชื่อว่าผู้หญิงไม่ควรสอนเพราะพวกเขาถูกหลอกง่าย แนวความคิดนี้สามารถนำมาถกได้ … นั่นคือ … ถ้าผู้หญิงถูกหลอกง่ายจริง ๆ แล้ว ทำไมผู้หญิงจึงได้รับอนุญาตให้สอนเด็ก ๆ (ผู้ซึ่งถูกหลอกง่ายเหมือนกัน) และผู้หญิงด้วยกันเอง (ผู้ซึ่งถูกทึกทักว่าถูกหลอกง่าย) … แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่พระคัมภีร์หมายถึง ผู้หญิงถูกห้ามไม่ให้สอนหรือมีสิทธิอำนาจฝ่ายวิญญาณเหนือผู้ชายเพราะเอวาถูกหลอกลวง ดังนั้นพระเจ้าจึงทรงมอบสิทธิอำนาจเบื้องต้นในการสอนในคริสตจักรให้กับผู้ชาย

ผู้หญิงมีของประทานโดดเด่นทางด้านการให้การรับรอง, ความเมตตา, การสอนและการให้ความช่วยเหลือ พันธกิจหลายอย่างในคริสตจักรต้องพึ่งผู้หญิง ผู้หญิงไม่ได้ถูกห้ามไม่ให้อธิษฐานหรือเผยพระวจนะในที่สาธารณะ (1 โครินธ์ 11:5) เพียงแต่ถูกห้ามไม่ให้มีสิทธิอำนาจในการสอนฝ่ายวิญญาณเหนือผู้ชาย ไม่มีที่ไหนในพระคัมภีร์ที่ห้ามผู้หญิงไม่ให้ใช้ของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ (1 โครินธ์บทที่ 12) ทั้งผู้หญิงและผู้ชายถูกเรียกให้รับใช้ผู้อื่น, ให้แสดงผลของพระวิญญาณบริสุทธิ์ (กาลาเทีย 5:22-23) และให้ประกาศข่าวประเสริฐต่อผู้ที่หลงหาย (มัทธิว 28:18-20; กิจการ 1:8; 1 เปโตร 3:15).

พระเจ้าทรงกำหนดไว้ว่าให้ผู้ชายเท่านั้นรับใช้ในตำแหน่งเกี่ยวกับการสอนฝ่ายวิญญาณในคริสตจักร นี่ไม่ได้หมายความว่าผู้ชายสอนได้ดีกว่าผู้หญิง หรือเพราะว่าผู้หญิงด้อยกว่าหรือฉลาดน้อยกว่าผู้ชาย (ซึ่งไม่ใช่) แต่เพระเจ้าทรงวางรูปแบบคริสตจักรไว้แบบนั้น ผู้ชายจะต้องเป็นตัวอย่างของผู้นำฝ่ายวิญญาณ – ทั้งในชีวิตและในคำพูด – ผู้หญิงจะต้องมีบทบาทในการเป็นผู้นำน้อยกว่า ผู้หญิงได้รับการหนุนใจให้สอนผู้หญิงด้วยกัน (ทิตัส 2:3-5) และพระคัมภีร์ไม่ได้ห้ามผู้หญิงไม่ให้สอนเด็ก ๆ สิ่งเดียวทีผู้หญิงมีข้อจำกัดคือการสอนหรือการมีสิทธิอำนาจฝ่ายวิญญาณเหนือผู้ชาย ดังนั้นข้อจำกัดนี้จึงรวมถึงการรับใช้ในฐานะศิษยาภิบาล/นักเทศน์ของผู้หญิงด้วย นี่ไม่ได้ทำให้ผู้หญิงมีความสำคัญน้อยไปกว่าผู้ชาย แต่เป็นการช่วยให้ผู้หญิงได้ทำพันธกิจที่เหมาะสมกับของประทานของพวกเขานั่นเอง





ผู้หญิงควรเป็นศิษยาภิบาล/นักเทศน์ไหม? พระคัมภีร์พูดถึงผู้หญิงที่ทำพันธกิจว่าอย่างไร?

พระคัมภีร์พูดอย่างไรเกี่ยวกับการหย่าและการแต่งงานใหม่?




คำถาม: พระคัมภีร์พูดอย่างไรเกี่ยวกับการหย่าและการแต่งงานใหม่?

คำตอบ:
ในเบื้องต้น ไม่ว่าเราจะมองมุมไหนเกี่ยวกับการหย่าร้าง ประการสำคัญคือให้เรานึกถึงข้อพระคัมภีร์มาลาคี 2:16ก ที่พูดว่า “พระเยโฮวาห์พระเจ้าของอิสราเอลตรัสว่า เราเกลียดชังการหย่าร้าง” พระคัมภีร์บอกว่า ตามแผนการของพระเจ้า การแต่งงานคือการผูกพันชั่วชีวิต “เขาจึงไม่เป็นสองต่อไป แต่เป็นเนื้ออันเดียวกัน เหตุฉะนั้นซึ่งพระเจ้าได้ทรงผูกพันกันแล้ว อย่าให้มนุษย์ทำให้พรากจากกันเลย” (มัทธิว 19:6) แต่พระเจ้าทรงรู้ว่าเนื่องจากการแต่งงานเป็นการผูกพันคนบาปสองคนเข้าด้วยกัน การหย่าร้างจึงเกิดขึ้นได้ ในพันธสัญญาเดิมพระองค์ได้ทรงวางกฎบางประการไว้เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ที่ถูกหย่าร้าง โดยเฉพาะฝ่ายหญิง (เฉลยธรรมบัญญัติ 24:1-4) พระเยซูทรงชี้ให้เห็นว่ากฎเหล่านี้ถูกตั้งขึ้นเพราะหัวใจของมนุษย์แข็งกระด้าง ไม่ใช่เพราะเป็นน้ำพระทัยของพระเจ้า (มัทธิว 19:8)

ข้อถกเถียงที่ว่าพระคัมภีร์อนุญาตให้มีการหย่าร้างหรือการแต่งงานใหม่หรือไม่ ต้องกลับไปดูที่พระวจนะของพระเยซูในหนังสือมัทธิว 5:32 และ 19:9 คำว่า “นอกจากการเล่นชู้” เป็นสิ่งเดียวในพระคัมภีร์ที่ดูเหมือนว่าพระเจ้าจะทรงอนุญาตให้มีการหย่าและแต่งงานใหม่ได้ ผู้ตีความหมายหลายท่านตีความหมายว่า “ข้อยกเว้น” นี้หมายถึง “การเล่นชู้” ระหว่างหมั้นเท่านั้น ในวัฒนธรรมของชาวยิว ชายและหญิงถูกถือว่าสมรสกันแล้วแม้ว่าเขาทั้งสองเพียงแค่“หมั้น” กันเท่านั้น ดังนั้นการผิดศีลธรรมระหว่างช่วงเวลา “หมั้น” จึงเป็นเหตุผลที่เป็นไปได้แต่เพียงเหตุผลเดียวสำหรับการหย่าร้าง

แต่ในศัพท์ภาษากรีก คำว่า “การเล่นชู้” หมายถึงการผิดศีลธรรมทางเพศทุกชนิด มันอาจหมายถึง การผิดประเวณี, การเที่ยวโสเภณี, การนอกใจ, ฯลฯ เป็นไปได้ที่พระเยซูตรัสว่าให้มีการหย่าได้หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดศีลธรรมทางเพศ ความสัมพันธ์ทางเพศคือส่วนหนึ่งของความผูกพันในการสมรสที่ทำให้ “เขาทั้งสองเป็นเนื้ออันเดียวกัน” (ปฐมกาล 2:24; มัทธิว 19:5; เอเฟซัส 5:31) ดังนั้นการตัดสายใยแห่งความผูกพันนั้นโดยการมีเพศสัมพันธ์นอกสมรสอาจเป็นเหตุผลที่พระคัมภีร์ยอมให้มีการหย่าร้างได้ พระเยซูทรงมีความคิดเกี่ยวกับการแต่งงานใหม่อยู่ในบริบทนี้ด้วยคำว่า “แล้วไปมีภรรยาใหม่” (มัทธิว 19:9) นี่แสดงให้เห็นว่ามีการอนุญาตให้มีการการหย่าร้างและ การแต่งงานใหม่ในกรณีที่เป็นไปตามข้อยกเว้น, ไม่ว่าจะมีการตีความหมายแบบไหนก็ตาม ที่สำคัญคือจงสังเกตว่าฝ่ายที่ไม่มีความผิดเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้แต่งงานใหม่ได้ และแม้ว่าบริบทไม่ได้กล่าวไว้ แต่การอนุญาตให้มีการแต่งงานใหม่หลังการหย่าเป็นพระเมตตาของพระเจ้าต่อผู้ที่ถูกกระทำ ไม่ใช่ต่อผู้กระทำความผิดทางเพศ อาจมีบ้างที่ “ฝ่ายผิด” ได้รับอนุญาตให้แต่งงานใหม่ – แต่แนวความคิดนั้นพระคัมภีร์ไม่ได้สอนไว้

มีบางคนเข้าใจว่าข้อพระคัมภีร์ 1 โครินธ์ 7:15 เป็น “ข้อยกเว้น” อีกข้อหนึ่งที่อนุญาตให้มีการแต่งงานใหม่ได้หากคู่สมรสฝ่ายที่ไม่เชื่อหย่าขาดจากผู้เชื่อ แต่อย่างไรก็ตามบริบทนี้ไม่ได้พูดถึงการแต่งงานใหม่ เพียงแต่พูดว่า ไม่จำเป็นที่ผู้เชื่อจะต้องจำใจอยู่ด้วยกันหากคู่สมรสผู้ไม่เชื่อต้องการจะไป บางคนบอกว่าการกระทำทารุณ (ต่อคู่สมรสหรือลูก) ก็เป็นเหตุผลเพียงพอสำหรับการหย่าร้างแม้ว่าพระคัมภีร์จะไม่ได้มีบอกไว้ก็ตาม ถึงแม้ว่านี่จะเป็นสาเหตุจริง ๆ มันก็ไม่ใช่เรื่องฉลาดที่เราจะทึกทักเอาเองว่าพระคัมภีร์อนุญาต

บางครั้งการมัวแต่ถกกันเกี่ยวกับข้อยกเว้น ทำให้เราลืมความจริงไปว่า ไม่ว่า “ความไม่สัตย์ซื่อในการสมรส” จะหมายความว่าอย่างไร มันไม่ใช่ข้ออ้างเพื่อการหย่าร้าง แต่เป็นข้อผ่อนปรนให้มีการหย่าได้เท่านั้น แม้ว่าในขณะที่มีการนอกใจเกิดขึ้น โดยพระคุณของพระเจ้า สามีและภรรยาสามารถเรียนรู้ที่จะให้อภัยซึ่งกันและกัน และหันกลับมาสร้างชีวิตสมรสใหม่ได้ พระเจ้าทรงให้อภัยเรามากกว่านั้นมากนัก แน่นอนเราสามารถดูพระองค์เป็นตัวอย่างได้ และยิ่งกว่านั้นเรายังสามารถยกโทษบาปแห่งการนอกใจได้เหมือนกัน (เอเฟซัส 4:12) แต่ในหลายกรณี คู่สมรสไม่ยอมกลับใจใหม่และเลิกทำบาปทางเพศ ในกรณีนี้เราสามารถยกข้อพระคัมภีร์มัทธ19:9 มาใช้ได้ หลายคนรีบร้อนที่จะแต่งงานใหม่จนเกินไปหลังจากการหย่าร้าง ในขณะที่พระเจ้าอาจจะทรงมีพระประสงค์ให้เขาอยู่เป็นโสดก็ได้ บางครั้งพระเจ้าจะทรงเรียกให้คนบางคนอยู่เป็นโสดเพื่อที่เขาจะได้ไม่หันเหความสนใจของเขาไปที่ไหน (1 โครินธ์ 7:32-35) การแต่งงานใหม่หลังการหย่าร้างอาจเป็นทางเลือกในบางกรณี แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ามันเป็นทางเลือกเดียวเท่านั้น

เป็นเรื่องน่าเศร้าที่อัตราการหย่าร้างในหมู่ผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นคริสเตียนสูงเกือบจะพอ ๆ กับอัตราการหย่าร้างในหมู่ผู้ไม่เชื่อ พระคัมภีร์บอกไว้อย่างชัดเจนมากว่าพระเจ้าทรงเกลียดการหย่าร้าง (มาลาคี 2:16) และการคืนดี และการให้อภัยควรเป็นสัญญลักษณ์ของผู้เชื่อ (ลูกา 11:4; เอเฟซัส 4:32) แต่อย่างไรก็ตามพระเจ้าทรงตระหนักว่าจะต้องมีการหย่าร้างแม้แต่ในหมู่ลูก ๆ ของพระองค์ ดังนั้นผู้เชื่อที่ผ่านการหย่าร้างหรือสมรสใหม่ไม่ควรมีความรู้สึกว่าพระเจ้าทรงรักพวกเขาน้อยลง แม้ว่าการหย่าร้างหรือการสมรสใหม่นั้นจะไม่ได้อยู่ภายใต้ข้อยกเว้นในมัทธิว 19:9 ก็ตาม พระเจ้าทรงใช้แม้แต่ความบาปในการไม่เชื่อฟังของคริสเตียนเพื่อการดีของพระองค์เสมอ





พระคัมภีร์พูดอย่างไรเกี่ยวกับการหย่าและการแต่งงานใหม่?

พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับการแต่งงานข้ามเชื้อชาติไว้ว่าอย่างไร?




คำถาม: พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับการแต่งงานข้ามเชื้อชาติไว้ว่าอย่างไร?

คำตอบ:
กฎบัญญัติในพันธสัญญาเดิมสั่งคนอิสราเอลไม่ให้แต่งงานกับคนต่างชาติ (เฉลยธรรมบัญญัติ 7:3-4) เหตุผลก็คือว่าคนอิสราเอลอาจถูกนำให้ออกห่างจากพระเจ้าหากพวกเขาแต่งงานกับคนที่กราบไหว้รูปเคารพ, คนนอกศาสนา หรือ คนที่ไม่รู้จักพระเจ้า พันธสัญญาใหม่มีหลักการที่คล้ายกันแต่ต่างระดับกว่า คือ “ท่านอย่าเข้าเทียมแอกกับคนที่ไม่เชื่อ เพราะว่าความชอบธรรมจะมีหุ้นส่วนอะไรกับความอธรรม และความสว่างจะเข้าสนิทกับความมืดได้อย่างไร?” (2 โครินธ์ 6:14) เช่นเดียวกับที่คนอิสราเอล (ผู้เชื่อในพระเจ้าผู้ทรงเที่ยงแท้แต่พระองค์เดียว) ถูกสั่งห้ามไม่ให้แต่งงานกับผู้ที่ไม่เชื่อ คริสเตียน (ผู้เชื่อในพระเจ้าผู้ทรงเที่ยงแท้แต่พระองค์เดียว) ก็ถูกสั่งไม่ให้แต่งงานกับผู้ที่ไม่เชื่อเช่นเดียวกัน ดังนั้นคำตอบ คือ ไม่เลย พระคัมภีร์ไม่ได้บอกว่าการแต่งงานข้ามเชื้อชาติเป็นความผิด

คนเราควรถูกตัดสินเพราะความประพฤติของเขา ไม่ใช่สีผิว เราทุกคนควรระวังที่จะไม่แสดงการเลือกที่รักมักที่ชังหรือเหยียดสีผิว ต่อผู้อื่น (ยากอบ 2:1-10 ดู ข้อ 1 และ 9 เป็นพิเศษ) มาตรฐานของคริสเตียนทั้งชายและหญิงในการเลือกคู่ครองควรอยู่ที่การดูว่าคนที่เราสนใจอยู่นั้นเป็นคริสเตียนหรือไม่ (2 โครินธ์ 6:14) บังเกิดใหม่โดยความเชื่อในพระเยซูคริสต์หรือไม่ (ยอห์น 3:3-5) มาตรฐานของพระคัมภีร์ในการเลือกคู่สมรส คือ ความเชื่อในพระคริสต์, ไม่ใช่สีผิว การแต่งงานข้ามเชื้อชาติไม่ใช่เรื่องที่ผิดหรือถูก แต่เป็นเรื่องของสติปัญญา, วิจารณญาณ, และการอธิษฐาน

เหตุผลเดียวที่การแต่งงานข้ามเชื้อชาติควรได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน คือ ความยุ่งยากที่คู่สมรสอาจจะต้องเจอเพราะคนอื่นอาจจะรับเขาทั้งคู่ได้ยาก คู่สมรสข้ามเชื้อชาติหลายคู่เจอการเหยียดสีผิวและการดูถูก ซึ่งบางครั้งรวมไปถึงครอบครัวของตัวเองด้วย นอกจากนั้นบางครั้งคู่สมรสข้ามเชื้อชาติอาจเจอปัญหาเมื่อลูกที่เกิดมามีสีผิวไม่เหมือนกับสีผิวของพ่อแม่หรือพี่น้อง ดังนั้นคู่รักข้ามเชื้อชาติจึงจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องเหล่านี้และเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับมันหากเขาต้องการจะแต่งงานกัน ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าพระคัมภีร์มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการสมรสของคริสเตียนเพียงแค่ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นอวัยวะในพระกายของพระคริสต์เท่านั้นเอง





พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับการแต่งงานข้ามเชื้อชาติไว้ว่าอย่างไร?

พระคัมภีร์พูดไว้ว่าอย่างไรเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์โดยที่ยังไม่ได้แต่งงาน/ก่อนแต่งงาน?




คำถาม: พระคัมภีร์พูดไว้ว่าอย่างไรเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์โดยที่ยังไม่ได้แต่งงาน/ก่อนแต่งงาน?

คำตอบ:
จากการกระทำที่เสื่อมศีลธรรมทางเพศต่าง ๆ พระคัมภีร์ตำหนิการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงานซ้ำแล้วซ้ำอีก (กิจการ 15:20; โรม 1:29; 1 โครินธ์ 5:1; 6:13,18; 7:2; 10:8; 2 โครินธ์ 12:21; กาลาเทีย 5:19; เอเฟซัส 5:3; โคโลสี 3:5; 1 เธสะโลนิกา 4:3; ยูดา บทที่ 7) พระคัมภีร์สนับสนุนให้ละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานเป็นสิ่งที่ผิดพอ ๆ กับ การเล่นชู้และการทำความผิดทางเพศอื่น ๆ เพราะเป็นการเกี่ยวข้องทางเพศกับคนที่ท่านไม่ได้แต่งงานด้วย เพศสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยาเท่านั้นคือความสัมพันธ์ทางเพศอย่างเดียวที่พระเจ้าทรงอนุมัติ (ฮีบรู 13:4)

การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงานกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปด้วยเหตุผลหลายประการ บ่อยครั้งจนเกินไปที่เราจดจ่ออยู่ที่ “ความเพลิดเพลินใจ” ทางเพศโดยลืมคิดถึงเรื่อง “การถูกสร้างขึ้นมาใหม่” แน่นอนเพศสัมพันธ์ให้ความพึงพอใจ พระเจ้าทรงสร้างให้มันเป็นเช่นนั้น พระองค์ทรงมีพระประสงค์ที่จะให้ชายและหญิงได้รับความพึงพอใจในกิจกรรมทางเพศ (ที่อยู่ภายใต้ขอบเขตแห่งการสมรส) แต่แท้จริงแล้ววัตถุประสงค์ดั้งเดิมของการมีเพศสัมพันธ์ไม่ใช่เพื่อความเพลิดเพลินใจ แต่เพื่อการสืบพันธ์ พระเจ้าทรงไม่อนุญาตให้คนเรามีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสไม่ใช่เพราะทรงมีพระประสงค์ที่จะกันเราไว้ไม่ให้ได้รับความเพลิดเพลินใจ แต่เพื่อปกป้องเราไว้จากการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ และเพื่อไม่ให้มีเด็กเกิดมาโดยที่ไม่เป็นที่ต้องการของพ่อแม่ หรือพ่อแม่ไม่พร้อม ให้เราลองวาดภาพดูว่าโลกเราจะดีขึ้นแค่ไหนหากทุกคนทำตามแผนการของพระเจ้าทางด้านเพศสัมพันธ์ – เช่น โรคติดต่อทางเพศน้อยลง, แม่ที่ต้องเลี้ยงลูกโดยลำพังโดยไม่ได้แต่งงานน้อยลง, การตั้งครรย์ที่ไม่ต้องการน้อยลง, การทำแท้งน้อยลง ฯลฯ การละเว้นทางเพศเป็นนโยบายเดียวของพระเจ้าเมื่อพูดถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส การละเว้นทางเพศเป็นการช่วยชีวิต, ปกป้องทารก, ทำให้ความสัมพันธ์ทางเพศมีคุณค่า, และเหนือสิ่งอื่นใด เป็นการถวายเกียรติแด่พระเจ้า





พระคัมภีร์พูดไว้ว่าอย่างไรเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์โดยที่ยังไม่ได้แต่งงาน/ก่อนแต่งงาน?

พระคัมภีร์พูดว่าอย่างไรเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์/ไวน์ (เหล้าองุ่น)? จะบาปไหมถ้าคริสเตียนดื่มแอลกอฮอล์/ไวน์ (เหล้าองุ่น)?




คำถาม: พระคัมภีร์พูดว่าอย่างไรเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์/ไวน์ (เหล้าองุ่น)? จะบาปไหมถ้าคริสเตียนดื่มแอลกอฮอล์/ไวน์ (เหล้าองุ่น)?

คำตอบ:
มีข้อพระคัมภีร์หลายข้อที่หนุนใจให้ผู้คนอยู่ห่างจากแอลกอฮอล์ (เลวีนิติ 10:9, กันดารวิถี 6:3; เฉลยธรรมบัญญัติ 14:26; 29:6; ผู้วินิจฉัย 13:4,7,14; 1 ซามูเอล 1:15; สุภาษิต 20:1; 31:4,6; อิสยาห์ 5:11,22; 24:9; 28:7; 29:9; 56:12; มีคาห์ 2:11; ลูกา 1:15) แต่อย่างไรก็ตามพระคัมภีร์ไม่ได้ห้ามคริสเตียนไม่ให้ดื่มเบียร์, ไวน์ หรือเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์เสียเลย แต่คริสเตียนถูกสั่งให้หลีกเลี่ยงการดื่มจนเมามาย (เอเฟซัส 5:18) พระคัมภีร์ตำหนิความเมาและผลของมัน (สุภาษิต 23:29-35) คริสเตียนถูกสั่งด้วยว่าเขาจะต้องไม่ยอมให้ร่างกายตกอยู่ภายใต้ “การควบคุม” ของสิ่งใด (1 โครินธ์ 6:12; 2 เปโตร 2:19) นอกจากนั้นข้อพระคัมภีร์ยังห้ามอีกว่าไม่ให้คริสเตียนทำอะไรที่อาจทำให้พี่น้องขุ่นเคืองใจ, หรือส่งเสริมให้เขาทำบาปต่อจิตสำนึกผิดชอบของเขา (1 โครินธ์ 8:9-13) จากหลักการที่กล่าวมานี้ คงเป็นเรื่องยากมากที่คริสเตียนจะพูดว่าเขาดื่มแอลกอฮอล์เพื่อถวายเกียรติพระเจ้า (1 โครินธ์ 10:31)

พระเยซูทรงเปลี่ยนน้ำให้เป็นเหล้าองุ่น ดังนั้นจึงดูเหมือนว่าพระเยซูทรงดื่มเหล้าองุ่นในบางโอกาส (ยอห์น 2:1-11; มัทธิว 26:29) น้ำในสมัยพันธสัญญาใหม่ไม่ค่อยสะอาดนัก หากไม่มีการใช้หลักสุขอนามัยที่ดี น้ำจะเต็มไปด้วยแบคทีเรีย, เชื้อไวรัส และสิ่งปนเปื้อนมากมายหลายชนิด ซึ่งเหมือนกับในโลกที่สามในปัจจุบัน ดังนั้นผู้คนจึงดื่มเหล้าองุ่น (หรือน้ำองุ่น) เป็นประจำเพราะมีสิ่งปนเปื้อนน้อยกว่ามาก ในหนังสือ 1 ทิโมธี 5:23 ท่านอาจารย์เปาโลสั่งห้ามทิโมธีให้หยุดดื่มน้ำ (ซึ่งคงเป็นสาเหตุของปัญหาเกี่ยวกับท้องไส้ของท่าน) แต่ให้ดื่มเหล้าองุ่นแทน รากศัพท์ภาษากรีกของคำว่าเหล้าองุ่นในพระคัมภีร์ คือ ศัพท์ที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบันสำหรับคำว่าเหล้าองุ่น ในยุคนั้นเหล้าองุ่นถูกหมักไว้ แต่ความแรงของมันไม่เท่ากับในปัจจุบัน หากจะพูดว่ามันเป็นน้ำองุ่นก็ไม่ค่อยถูกต้องนัก แต่จะพูดว่ามันเป็นเหมือนเหล้าองุ่นในปัจจุบันก็ไม่ถูกต้องอีกเหมือนกัน ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าพระคัมภีร์ไม่ได้ห้ามคริสเตียนไม่ให้ดื่มเบียร์, เหล้าองุ่น, หรือเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฺฮอล์ แอลกอฮอล์โดยตัวของมันเองไม่ได้เป็นความบาป แต่การเมามายและติดแอลกอฮอล์ต่างหากที่คริสเตียนต้องหลีกเลี่ยงโดยสิ้นเชิง (เอเฟซัส 5:18; 1 โครินธ์ 6:12) อย่างไรก็ตามหลักการในพระคัมภีร์ทำให้การโต้เถียงว่าการที่คริสเตียนดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะมากน้อยแค่ไหนเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้านั้น เป็นเรื่องยาก





พระคัมภีร์พูดว่าอย่างไรเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์/ไวน์ (เหล้าองุ่น)? จะบาปไหมถ้าคริสเตียนดื่มแอลกอฮอล์/ไวน์ (เหล้าองุ่น)?

พระคัมภีร์พูดว่าอย่างไรบ้างเกี่ยวกับการพนัน? การพนันเป็นความบาปหรือไม่?




คำถาม: พระคัมภีร์พูดว่าอย่างไรบ้างเกี่ยวกับการพนัน? การพนันเป็นความบาปหรือไม่?

คำตอบ:
การพนันสามารถพูดได้ว่าเป็น “การเสี่ยงเงินเพื่อทวีคูณเงินในบางอย่างที่เสียเปรียบ” พระคัมภีร์ไม่ได้ตัดสินว่าการพนัน, การเสี่ยงโชค หรือการเล่นลอตเตอรี่ เป็นสิ่งผิด แต่พระคัมภีร์เตือนเราว่าอย่ารักเงินทอง (1 ทิโมธี 6:10; ฮีบรู 13:5) และหนุนใจให้เราไม่พยายามคิดที่จะ “รวยทางลัด” (สุภาษิต 13:11; 23:5; ปัญญาจารย์ 5:10) แน่นอนที่สุดว่าการพนันจดจ่ออยู่ที่การรักเงินทอง และที่ปฏืเสธไม่ได้เลย ก็คือ มันยั่วใจคนให้เกิดความหวังว่าเขาจะรวยเร็วและง่าย

การพนันมีอะไรผิด? การพนันเป็นหัวข้อที่ยากในการถกเพราะหากเป็นการเล่นที่พอสัณฐานประมาณ และเป็นบางโอกาส มันก็แค่เป็นการเสียเงินเปล่าเท่านั้นเอง ไม่จำเป็นว่ามันจะต้องเป็นสิ่งที่ “ชั่วร้าย” ผู้คนเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ไปกับหลายสิ่งหลายอย่างอยู่แล้ว การพนันไม่ได้เป็นการเสียเงินมากน้อยไปกว่าการดูหนัง (ในหลายกรณี), การกินอาหารแพงเกินความจำเป็น, หรือการซื้อของที่ไม่มีค่า แต่ก็ใช่ว่าเมื่อเราสูญเงินไปกับสิ่งอื่น ๆ ได้ เราก็สามารถสูญเงินไปกับการพนันได้เหมือนกัน เงินไม่ควรจะถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ เงินส่วนเกินควรถูกเก็บไว้เพื่อใช้ในยามจำเป็นในอนาคต หรือถวายให้กับคริสตจักรเพื่อการงานของพระเจ้า สำหรับงานของพระเจ้า - ไม่ใช่เพื่อการพนัน

การพนันในพระคัมภีร์: ถึงแม้ว่าพระคัมภีร์ไม่ได้พูดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องการพนัน แต่ก็ได้พูดถึงการเสี่ยง “โชค” หรือ “โอกาส” ยกตัวอย่างเช่น การจับสลากในหนังสือเลวีนิติ เพื่อเลือกระหว่างแพะที่เป็นเครื่องถวายบูชากับแพะรับบาป โยชูวาก็จับสลากเพื่อแบ่งดินแดนให้กับเผ่าต่าง ๆ เนหมีย์จับสลากเพื่อตัดสินใจว่าจะให้ใครอยู่ในและนอกกำแพงเมือง อัครทูตจับสลากเพื่อหาคนมาแทนยูดาส หนังสือสุภาษิต 16:33 กล่าวว่า “สลากนั้นเขาทอดลงที่ตัก แต่การตัดสินมาจากพระเยโฮวาห์ทั้งสิ้น” ไม่มีที่ไหนในพระคัมภีร์ที่มีการใช้การพนันหรือ การ “เสี่ยงโชค” เพื่อความบันเทิง หรือบอกว่ามันเป็นการกระทำของผู้ที่ติดตามพระเจ้าซึ่งเป็นที่ยอมรับ

คาสิโนและลอตเตอรี่: สถานคาสิโนใช้อุบายการตลาดทุกชนิดล่อนักการพนันให้เสี่ยงเงินให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ สถานที่ต่าง ๆ เหล่านี้มักจะเสริฟเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในราคาถูกหรือไม่คิดเงิน ซึ่งทำให้ลูกค้าเมาและทำให้ความสามารถในการตัดสินใจอย่างฉลาดของเขาลดลง ทุกสิ่งทุกอย่างในสถานคาสิโนถูกทำขึ้นอย่างเหมาะเจาะเพื่อดึงเงินก้อนใหญ่จากลูกค้าแต่ไม่ให้อะไรกลับมาเลยนอกจากความเพลิดเพลินที่ไร้สาระชั่วครู่ชั่วยาม ลอตเตอรี่แสดงภาพพจน์ว่ามันเป็นทางที่จะได้เงินมาช่วยการศึกษาและ/หรือกิจกรรมทางสังคมอื่น ๆ แต่จากการศึกษาค้นคว้าปรากฏว่าคนที่ชอบซื้อลอตเตอรี่โดยปกติแล้วจะไม่ค่อยมีเงินพอแม้แต่จะซื้อลอตเตอรี่เสียด้วยซ้ำไป สำหรับคนที่สิ้นหวังเสน่ห์ของการ “รวยทางลัด” ยั่วใจเกินกว่าที่จะปฏิเสธมันได้ แต่โอกาสที่จะถูกมีน้อยมาก จึงทำให้ชีวิตของคนหลายคนเสียไป

ทำไมเงินที่ได้มาจากการถูกลอตเตอรี่จึงไม่เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า: คนบางคนอ้างว่าเขาซื้อลอตเตอรี่หรือเล่นการพนันเพื่อที่จะได้นำเงินที่ได้มาถวายให้กับคริสตจักร หรือที่อื่นที่เป็นประโยชน์ แม้ว่านั่นจะเป็นเจตนาที่ดี แต่ความจริงคือมีน้อยคนมากที่ใช้เงินรางวัลเพื่องานของพระเจ้า จากการศึกษาค้นคว้าปรากฏว่าคนที่ถูกลอตเตอรี่ส่วนใหญ่มีสภาพทางการเงินแย่กว่าเดิมสองสามปีให้หลัง มีน้อยคน (หากมี) ใช้เงินเพื่อการดี อันที่จริงพระเจ้าทรงไม่ต้องการเงินของเราเพื่อสนับสนุนพันธกิจของพระองค์ในโลกนี้ สุภาษิต 13:11 กล่าวว่า “ทรัพย์ศฤงคารที่ได้มาโดยโชคลาภจะยอบแยบลง แต่บุคคลที่ส่ำสมโดยการงานจะได้เพิ่มพูนขึ้น” พระเจ้าทรงเป็นใหญ่สูงสุด และพระองค์จะทรงจัดเตรียมให้กับคริสตจักรของพระองค์เองโดยทางสุจริต พระเจ้าจะได้รับเกียรติไหมจากเงินถวายที่ได้มาจากการซื้อขายยาเสพติด, หรือที่ถูก “ขโมย” มาจากธนาคาร? เช่นเดียวกันพระองค์ไม่ทรงมีพระประสงค์ที่จะรับเงินที่ถูก “ขโมย” มาจากคนจนที่อยากรวยเป็นแน่

ข้อพระคัมภีร์ 1 ทิโมธี 6:10 บอกเราว่า “ด้วยว่าการรักเงินนั้นเป็นรากเหง้าแห่งความชั่วทั้งสิ้น ขณะที่บางคนโลภสิ่งเหล่านี้จึงได้หลงไปจากความเชื่อนั้น และทิ่มแทงตัวของเขาเองให้ทะลุด้วยความทุกข์ใจเป็นอันมาก” ฮีบรู 13:5 กล่าวว่า “ท่านจงพ้นจากการรักเงิน จงพอใจในสิ่งที่ท่านมีอยู่ เพราะว่าพระองค์ได้ตรัสไว้แล้วว่า เราจะไม่ละท่านหรือทอดทิ้งท่านเลย” มัทธิว 6:24 กล่าวว่า “ไม่มีผู้ใดปรนนิบัตินายสองนายได้ เพราะเขาจะชังนายข้างหนึ่งและจะรักนายอีกข้างหนึ่ง หรือเขาจะนับถือนายฝ่ายหนึ่งและจะดูหมิ่นนายอีกฝ่ายหนึ่ง ท่านจะปรนนิบัติพระเจ้าและเงินทองพร้อมกันไม่ได้”





พระคัมภีร์พูดว่าอย่างไรบ้างเกี่ยวกับการพนัน? การพนันเป็นความบาปหรือไม่?

พระคัมภีร์กล่าวไว้ว่าอย่างไรเกี่ยวกับการสัก/เจาะ ร่างกาย?




คำถาม: พระคัมภีร์กล่าวไว้ว่าอย่างไรเกี่ยวกับการสัก/เจาะ ร่างกาย?

คำตอบ:
กฎในพันธสัญญาเดิมสั่งคนอิสราเอลไว้ว่า “เจ้าอย่าเชือดเนื้อของเจ้าเพราะเหตุมีคนตาย หรือสักเป็นเครื่องหมายใดๆลงที่ตัวเจ้า เราคือพระเยโฮวาห์” ” (เลวีนิติ 19:28) ดังนั้นถึงแม้ว่าผู้เชื่อในปัจจุบันจะไม่ต้องถือกฎในพันธสัญญาเดิมแล้วก็ตาม (โรม 10:4; กาลาเทีย 3:23-25; เอเฟซัส 2:15) แต่ความจริงที่ว่าได้มีการสั่งห้ามการสักไว้จึงเป็นสิ่งที่เราควรถาม พันธสัญญาใหม่ไม่ได้พูดอะไรเกี่ยวกับว่าผู้เชื่อควรหรือไม่ควรสัก

เมื่อพูดถึงการสักหรือเจาะร่างกาย ข้อตรวจสอบที่ดีคือให้เราพิจารณาดูว่าเราสามารถขอพระเจ้าอย่างจริงใจและไม่รู้สึกผิด ให้อวยพรเราและใช้สิ่งที่เราทำนั้นเพื่อการดีของพระองค์ได้หรือไม่ “เหตุฉะนั้นเมื่อท่านจะรับประทาน จะดื่ม หรือจะทำอะไรก็ตาม จงกระทำเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า” (1 โครินธ์ 10:31) พระคัมภีร์ไม่ได้สั่งห้ามการสักหรือเจาะร่างกาย แต่ก็ไม่ได้ให้เหตุผลที่ทำให้เราเชื่อว่าพระเจ้าทรงอนุญาตให้เราสักหรือเจาะร่างกายเช่นกัน

อีกข้อหนึ่งที่สมควรจะได้รับการพิจารณาคือ ความพอสัณฐานประมาณ พระคัมภีร์สอนให้เราแต่งตัวอย่างพอสัณฐานประมาณ (1 ทิโมธี 2:9) แง่หนึ่งเกี่ยวกับการแต่งตัวอย่างพอสัณฐานประมาณ คือ การแน่ใจว่าสิ่งที่ควรปกปิดด้วยเสื้อผ้าได้รับการปกปิดอย่างสมควร แต่ความหมายที่สำคัญของความพอสัณฐานประมาณคือ การไม่เรียกร้องความสนใจเข้ามาสู่ตนเอง คนที่แต่งตัวอย่างพอสัณฐานประมาณคือคนที่ไม่ได้แต่งตัวเพื่อดึงดูดความสนใจ การสักและการเจาะร่างกายเป็นการดึงดูดความสนใจแน่นอน ดังนั้นจากมุมมองนี้ การสักหรือเจาะร่างกายจึงไม่ใช่เป็นการกระทำที่พอสัณฐานประมาณ

หลักสำคัญจากพระคัมภีร์เกี่ยวกับเรื่องที่พระคัมภีร์ไม่ได้พูดถึงตรง ๆ คือ หากการกระทำนั้นมีช่องว่างให้สงสัยว่าจะเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าหรือไม่ การไม่ทำก็จะเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพราะ “การกระทำใด ๆ ก็ตามที่มิได้กระทำด้วยความเชื่อก็เป็นบาปทั้งสิ้น” (โรม 14:23) เราจำเป็นที่จะต้องจำไว้ว่าร่างกายของเรา, รวมทั้งจิตวิญญาณของเรา, ได้รับการไถ่ไว้แล้วและเป็นของพระเจ้า ถึงแม้ว่าข้อพระคัมภีร์ 1 โครินธ์ 6:19-20 ไม่ได้พูดถึงการสักหรือเจาะร่างกายโดยตรงก็ตาม แต่มันให้หลักการกับเรา, “หลักการอะไรหรือ? ก็หลักการที่ว่า ท่านไม่รู้หรือว่า ร่างกายของท่านเป็นวิหารของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งสถิตอยู่ในท่าน ซึ่งท่านได้รับจากพระเจ้า ท่านไม่ใช่เจ้าของตัวท่านเอง นั่นไง” ความจริงที่ยิ่งใหญ่นี้ควรมีผลอย่างแท้จริงในสิ่งที่เราทำและสถานที่ ๆ เราไป หากร่างกายของเราเป็นของพระเจ้า เราควรมั่นใจว่าเราได้รับ “อนุญาต” จากพระองค์อย่างชัดเจน ก่อนที่เราจะ “ทำเครื่องหมายใด ๆ ลงที่ตัว” ด้วยรอยสักหรือการเจาะร่างกาย





พระคัมภีร์กล่าวไว้ว่าอย่างไรเกี่ยวกับการสัก/เจาะ ร่างกาย?

ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ คืออะไร? ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ เป็นของประทานสำหรับปัจจุบันนี้หรือไม่?




คำถาม: ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ คืออะไร? ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ เป็นของประทานสำหรับปัจจุบันนี้หรือไม่?

คำตอบ:
ปรากฏการณ์ครั้งแรกเกี่ยวกับการพูดภาษาแปลก ๆ เกิดขึ้นในวันเทศกาลเพนเทคศเต ในหนังสือกิจการ 2:1-4 ในตอนนั้นพวกอัครทูตออกไปแบ่งปันพระกิตติคุณกับฝูงชนด้วยการพูดกับพวกเขาด้วยภาษาท้องถิ่น “เราทั้งหลายต่างก็ได้ยินคนเหล่านี้กล่าวถึงมหกิจของพระเจ้าตามภาษาของเราเอง” (กิจการ 2:11) คำว่า “ภาษาแปลก ๆ” ในภาษากรีกแปลตรงตัวว่า “ภาษาต่าง ๆ” ดังนั้นของประทานแห่งการพูดภาษาแปลก ๆ คือการพูดด้วยภาษาที่คนพูดไม่รู้จักแต่คนฟังรู้จักเพื่อให้คนฟังเข้าใจเพราะเป็นภาษาของเขาเอง ใน 1 โครินธ์ บทที่ 12-14 เมื่อท่านอาจารย์เปาโลพูดถึงของประทานที่น่าอัศจรรย์ ท่านออกความเห็นว่า “นี่แหละพี่น้องทั้งหลาย ถ้าข้าพเจ้ามาหาท่านและพูดภาษาต่างๆ จะเป็นประโยชน์อะไรแก่ท่านเล่า เว้นเสียแต่ข้าพเจ้าจะพูดกับท่านโดยคำวิวรณ์ หรือโดยความรู้ หรือโดยคำพยากรณ์ หรือโดยการสั่งสอน” (1 โครินธ์ 14:6) ตามคำพูดของท่านอาจารย์เปาโล และตามความเห็นที่สอดคล้องกับเรื่องการพูดภาษาแปลก ๆ ที่กล่าวไว้ในหนังสือกิจการ การพูดภาษาแปลก ๆ มีประโยชน์สำหรับคนที่ฟังพระวจนะของพระเจ้าในภาษาของเขาเอง แต่ไร้ประโยชน์สำหรับคนอื่น – นอกจากมันจะได้รับการแปล

คนที่มีของประทานในการแปลภาษาแปลก ๆ (1 โครินธ์ 12:30) จะสามารถเข้าใจว่าคนที่พูดภาษาแปลก ๆ นั้นกำลังพูดว่าอะไรแม้ว่าเขาจะไม่รู้จักภาษาที่กำลังถูกพูดอยู่ก็ตาม แล้วเขาก็จะแปลภาษาที่คนอีกคนหนึ่งกำลังพูดให้ทุกคนฟัง “เหตุฉะนั้นให้คนที่พูดภาษาต่างๆอธิษฐานว่า เขาจะสามารถแปลได้ด้วย” (1 โครินธ์ 14:13) ข้อสรุปของท่านอาจารย์เปาโลเกี่ยวกับภาษาแปลก ๆ ที่ไม่ได้รับการแปลมีพลังมาก “แต่ว่าในคริสตจักร ข้าพเจ้าพอใจที่จะพูดสักห้าคำด้วยความเข้าใจ เพื่อเสียงของข้าพเจ้าจะสั่งสอนคนอื่นด้วย ดีกว่าที่จะพูดหมื่นคำเป็นภาษาต่างๆ” (1 โครินธ์ 14:19)

ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ ยังใช้ได้ในปัจจุบันหรือไม่? ข้อพระคัมภีร์ 1 โครินธ์ 13:8 กล่าวว่าของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ ถูกเลิกราไปแล้ว แต่พระคัมภีร์โยงการเลิกรานั้นไปสู่ “ความสมบูรณ์” ที่จะมาถึงใน 1 โครินธ์ 13:10 มีบางคนชี้ไปถึงความแตกต่างระหว่างภาษาที่ใช้ในการเผยพระวจนะ และความรู้ที่ “จะเสื่อมสูญไป” กับภาษาแปลก ๆ ที่จะ “มีเวลาเลิกราไป” ว่าเป็นหลักฐานว่าการพูดภาษาแปลก ๆ จะถูกเลิกราไปก่อนที่ “ความสมบูรณ์” จะมาถึง แม้ว่านี่จะเป็นไปได้ แต่ข้อพระคัมภีร์ไม่ได้แสดงให้เห็นชัดเจน บางคนชี้ไปที่ข้อพระคัมภีร์เช่น อิสยาห์ 28:11 และ โยเอล 2:28-29 ว่าการพูดภาษาแปลก ๆ เป็นหมายสำคัญที่แสดงถึงคำพิพากษาของพระเจ้าที่จะมาถึง 1 โครินธ์ 14:22 บอกว่าภาษาแปลก ๆ เป็น “หมายสำคัญสำหรับผู้ไม่เชื่อ” ตามข้อโต้แย้งนี้ ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ คือ การเตือนพวกยิวว่าพระเจ้ากำลังจะทรงพิพากษาคนอิสราเอลเนื่องจากพวกเขาปฏิเสธพระเยซูคริสต์ในฐานะพระเมสสิยาห์ ดังนั้น เมื่อพระเจ้าทรงพิพากษาชนชาติอิสราเอลจริง ๆ (โดยการทำลายกรุงเยรูซาเล็มด้วยชาวโรมันในปี ค.ศ 70) ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ ย่อมไม่ความจำเป็นอีกต่อไป แม้ว่ามุมมองนี้มีความเป็นไปได้ และแม้ว่าวัตถุประสงค์เดิมของการพูดภาษาแปลก ๆ จะสำเร็จลง แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะต้องถูกหยุดลงด้วย พระคัมภีร์ไม่ได้สรุปว่าของประทานแห่งการพูดภาษาแปลก ๆ ถูกเลิกราไปแล้ว

ในเวลาเดียวกัน หากของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ ยังคงใช้การได้อยู่ในคริสตจักรในปัจจุบัน มันจะต้องถูกใช้อย่างสอดคล้องกับพระคัมภีร์ และจะต้องเป็นภาษาจริง ๆ และพอเข้าใจได้ (1 โครินธ์ 14:10) มันจะต้องเป็นภาษาที่สื่อพระวจนะของพระเจ้าให้กับคนอีกภาษาหนึ่ง (กิจการ 2:6-12) มันจะต้องสอดคล้องกับพระบัญชาที่พระเจ้าทรงให้ไว้ผ่านท่านอาจารย์เปาโล “ถ้าผู้ใดจะพูดภาษาต่างๆ จงให้พูดเพียงสองคนหรืออย่างมากที่สุดก็สามคน และให้พูดทีละคน และให้อีกคนหนึ่งแปล แต่ถ้าไม่มีผู้ใดแปลก็ให้คนเหล่านั้นอยู่เงียบๆในที่ประชุมคริสตจักร และให้พูดกับตัวเอง และทูลต่อพระเจ้า” (1 โครินธ์ 14:27-28) มันจะต้องสอดคล้องกับข้อพระคัมภีร์ 1 โครินธ์ 14:33 “เพราะว่าพระเจ้าไม่ใช่ผู้ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวาย แต่ทรงเป็นผู้ก่อให้เกิดสันติสุข เหมือนที่ได้เกิดขึ้นในบรรดาคริสตจักรแห่งวิสุทธิชนนั้น”

แน่นอนที่สุดว่าพระเจ้าทรงสามารถที่จะให้ของประทานแห่งการพูดภาษาแปลก ๆ กับใครก็ได้เพื่อให้เขาสื่อกับคนอีกคนหนึ่งด้วยภาษาอีกภาษาหนึ่ง พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงยิ่งใหญ่สูงสุดในการแจกจ่ายของประทานฝ่ายวิญญาณ (1 โครินธ์ 12:11) ลองวาดภาพดูว่ามันจะเกิดประโยชน์กับมิชชันนารีมากแค่ไหนถ้าพวกเขาไม่ต้องเข้าโรงเรียนเรียนภาษาท้องถิ่น หรือถ้าพวกเขาสามารถพูดกับผู้คนด้วยภาษาท้องถิ่นได้เลย แต่ดูเหมือนว่าพระเจ้าไม่ได้ทรงทำเช่นนั้น ในปัจจุบันภาษาแปลก ๆ ดูเหมือนจะไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนอย่างที่เกิดในสมัยพันธสัญญาใหม่ แม้ว่ามันจะมีประโยชน์มากก็ตาม ผู้เชื่อส่วนใหญ่ที่บอกว่าเขาใช้ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ ไม่ได้ทำอย่างสอดคล้องกับที่ข้อพระคัมภีร์บอกไว้ข้างต้น ความจริงเหล่านี้นำไปสู่ข้อสรุปว่าของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ ได้หยุดไปแล้ว หรืออย่างน้อยหายากที่เป็นไปตามแผนของพระเจ้าสำหรับคริสตจักรในปัจจุบัน

ผู้ที่เชื่อในของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ ว่าเป็น “ภาษาแห่งการอธิษฐาน” เพื่อให้ตัวเองจำเริญขึ้น ได้แง่คิดมาจากข้อพระคัมภีร์ 1 โครินธ์ 14:4 และ/หรือ 14:28 “ฝ่ายคนที่พูดภาษาต่างๆนั้นก็ทำให้ตนเองเจริญฝ่ายเดียว แต่ผู้ที่พยากรณ์นั้นย่อมทำให้คริสตจักรจำเริญขึ้น” ตลอดบทที่ 14 ท่านอาจารย์เปาโลเน้นถึงความสำคัญของการแปลภาษาแปลก ๆ (ดู 14:5-12) สิ่งที่ท่านอาจารย์เปาโลพูดถึงในข้อ 4 คือ “ถ้าท่านพูดภาษาแปลก ๆ โดยไม่มีการแปล ก็เท่ากับว่าท่านไม่ได้ทำอะไรนอกจากทำให้ตนเองจำเริญขึ้น ทำให้ตัวเองดูเหมือนว่าเข้าลึกฝ่ายวิญญาณมากกว่าคนอื่น หากท่านพูดภาษาแปลก ๆ แล้วมีการแปล ท่านก็ทำให้คนอื่นจำเริญขึ้น” ไม่มีที่ไหนในพันธสัญญาใหม่ที่สั่งไว้อย่างเจาะจงเกี่ยวกับการ “อธิษฐานในภาษาแปลก ๆ” ไม่มีที่ไหนในพันธสัญญาใหม่บอกวัตถุประสงค์ของการ “อธิษฐานในภาษาแปลก ๆ” หรือพูดอย่างจำเพาะเจาะจงถึงใครที่ “อธิษฐานในภาษาแปลก ๆ” นอกจากนั้น หาก “ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ” มีไว้เพื่อทำให้ตัวเองจำเริญขึ้น มันจะไม่เป็นการยุติธรรมสำหรับคนที่ไม่มีของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ หรือ ที่เขาจะไม่จำเริญขึ้น? 1 โครินธ์ 12:29-30 แสดงให้เห็นชัดเจนว่าไม่ใช่ทุกคนจะมีของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ





ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ คืออะไร? ของประทานในการพูดภาษาแปลก ๆ เป็นของประทานสำหรับปัจจุบันนี้หรือไม่?

พระเยซูทรงอยู่ที่ไหนในช่วงเวลาสามวันระหว่างการสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์?




คำถาม: พระเยซูทรงอยู่ที่ไหนในช่วงเวลาสามวันระหว่างการสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์?

คำตอบ:
ข้อพระคัมภีร์ 1 เปโตร 3:18-19 บอกว่า “ด้วยว่า พระคริสต์เช่นกันก็ได้ทนทุกข์ครั้งเดียวเท่านั้น เพราะความผิดบาป คือพระองค์ผู้ชอบธรรมเพื่อผู้ไม่ชอบธรรม เพื่อพระองค์จะได้ทรงนำเราทั้งหลายไปถึงพระเจ้า ฝ่ายเนื้อหนังพระองค์ก็ทรงสิ้นพระชนม์ แต่ทรงมีชีวิตขึ้นโดยพระวิญญาณ และโดยพระวิญญาณเช่นกัน พระองค์ได้เสด็จไปประกาศแก่วิญญาณที่ติดคุกอยู่”

คำว่า “โดยพระวิญญาณ” ในข้อ 18 มีโครงสร้างเดียวกับคำว่า “ฝ่ายเนื้อหนัง” ดังนั้นจึงดูเหมือนว่าจะเป็นการดีที่สุดที่จะโยงคำว่า “วิญญาณ” ให้มาอยู่ในมิติเดียวกับคำว่า “เนื้อหนัง” เนื้อหนังและวิญญาณ คือ เนื้อหนังและวิญญาณของพระคริสต์ คำว่า “ทรงมีชีวิตขึ้นโดย (ใน) พระวิญญาณ” ชี้ให้เห็นว่าการทรงแบกบาปและการสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์ ได้แยกวิญญาณของพระองค์ในสภาพมนุษย์ออกจากพระบิดา (มัทธิว 27:46) ความแตกต่างอยู่ที่ ระหว่างเนื้อหนังและวิญญาณ ดังที่มีปรากฏอยู่ในข้อพระคัมภีร์มัทธิว 27:41 และ โรม 1:3-4 ไม่ใช่เนื้อหนังของพระคริสต์และพระวิญญาณบริสุทธิ์ เมื่อการชดเชยบาปของพระคริสต์สำเร็จบริบูรณ์ พระวิญญาณของพระองค์ก็กลับคืนมาสู่ความสัมพันธ์เดิมซึ่งไม่เคยขาดออกจากกันเลย

1 เปโตร 3:18-22 บรรยายความประสานกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ระหว่างการทนทุกข์ของพระคริสต์ (ข้อ 18) และการได้รับพระสิริบนสวรรค์พระองค์ (ข้อ 22) เปโตรแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่ให้ข้อมูลอย่างจำเพาะเจาะจงว่าเกิดอะไรขึ้นระหว่างเหตุการณ์ทั้งสอง คำว่า “เทศนา” ในข้อ 19 ไม่ใช่คำปกติที่ใช้ในพันธสัญญาใหม่เมื่อพูดถึงการประกาศข่าวประเสริฐ แต่หมายถึงการป่าวประกาศ พระเยซูทรงทุกข์ทรมารและสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน พระกายของพระองค์ถูกทำให้สิ้นชีวิต และพระวิญญาณของพระองค์ก็จบสิ้นไปด้วยเมื่อทรงถูกทำให้เป็นคนบาป แต่พระวิญญาณถูกทำให้ฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาและพระองค์ทรงถวายมันให้กับพระบิดา ตามที่เปโตรบันทึกไว้บางทีในระหว่างช่วงเวลาการวายพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์ พระเยซูทรงป่าวประกาศเป็นพิเศษต่อ “วิญญาณที่ติดคุกอยู่”

ในตอนแรก เปโตรกกล่าวถึงผู้คนโดยใช้คำว่า “ชีวิต” ไม่ใช่ “วิญญาณ” (3:20) ในพันสัญญาใหม่ คำว่า “วิญญาณ” เป็นคำที่ใช้กับทูตสวรรค์หรือผีมาร ไม่ใช่มนุษย์ และข้อ 22 ดูเหมือนว่าจะแสดงให้เห็นถึงความหมายนี้ และไม่มีที่ไหนในพระคัมภีร์ที่บอกว่าพระเยซูเสด็จไปนรก หนังสือกิจการ 2:31 กล่าวว่าพระองค์เสด็จไปยัง “แดนมรณา” (จากพระคัมภีร์ฉบับ New International Version) แต่ “แดนมรณา” ไม่ใช่นรก คำว่า “แดนมรณา” หมายถึงอาณาจักรของคนตาย – เป็นสถานที่ชั่วคราวที่พวกเขาอยู่เพื่อคอยการพิพากษา วิวรณ์ 20:11-15 ฉบับ NSAB หรือ New International Version แสดงให้เห็นชัดเจนระหว่างสองประการนี้ นรกคือสถานที่ถาวรและสุดท้ายสำหรับผู้ที่หลงหาย แดนมรณาคือสถานที่ชั่วคราว

องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราทรงจำนนพระวิญญาณของพระองค์ให้กับพระบิดา, แล้วทรงสิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นในช่วงเวลาระหว่างการสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์ พระองค์เสด็จไปยังแดนคนตาย และที่นั่นพระองค์ทรงป่าวประกาศกับเหล่าวิญญาณ (ซึ่งคิดว่าคงเป็นทูตสวรรค์ที่ล้มลงในความบาป, ดู ยูดาส 6 ประกอบ) ผู้ที่, ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง, เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาก่อนน้ำท่วมโลกในสมัยโนอาห์ ข้อ 20 ช่วยให้เรื่องนี้ชัดเจนขึ้น เปโตรไม่ได้บอกเราว่าพระองค์ทรงป่าวประกาศอะไรต่อวิญญาณที่ถูกจองจำเหล่านั้น แต่คงไม่ใช่ข่าวประเสริฐแน่นอนเนื่องจากทูตสวรรค์รับความรอดไม่ได้ (ฮีบรู 2:16) มันคงเป็นการประกาศชัยชนะเหนือซาตานและพวกของมันมากกว่า (1 เปโตร 3:22; โคโลสี 2:15). เอเฟซัส 4:8-10 ดูเหมือนจะแสดงให้เห็นด้วยเช่นกันว่าพระคริสต์เสด็จไปยัง “เมืองบรมสุขเกษม” (ลูกา 16:20; 23:43) แล้วทรงพาผู้ที่เชื่อในพระองค์ก่อนการวายพระชนม์ไปสวรรค์กับพระองค์ด้วย ข้อความในบริบทนี้ไม่ได้บอกอะไรมากมายว่าเกิดอะไรขึ้น แต่นักศึกษาพระคัมภีร์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่านี่คือความหมายของคำว่า “ทรงนำพวกเชลยไปเป็นเชลยอีก”

ดังนั้น ทั้งหมดที่พูดได้คือ พระคัมภีร์ไม่ได้บอกชัดเจนว่าพระคริสต์ทรงทำอะไรในระหว่างสามวันระหว่างการสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์ มันดูเหมือนว่าพระองค์ทรงประกาศชัยชนะเหนือทูตสวรรค์ที่ล้มลงในความบาป และ/หรือผู้ไม่เชื่อ แต่ที่เราสามารถรู้ได้อย่างแน่นอนก็คือพระเยซูไม่ได้ทรงให้โอกาสครั้งที่สองแก่มนุษย์เพื่อที่เขาจะได้รับความรอด พระคัมภีร์บอกเราว่าเราต้องเผชิญกับคำพิพากษาหลังความตาย (ฮีบรู 9:27) ไม่ใช่โอกาสที่สอง ไม่มีคำตอบทีแน่นอนชัดเจนว่าพระเยซูทรงทำอะไรในระหว่างการสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์ บางทีเราจะเข้าใจความลี้ลับนี้ได้เมื่อเราได้ไปอยู่กับพระองค์





พระเยซูทรงอยู่ที่ไหนในช่วงเวลาสามวันระหว่างการสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์?

สัตว์เลี้ยง/สัตว์ต่าง ๆ ได้ขึ้นสวรรค์ไหม? สัตว์เลี้ยง/สัตว์ต่าง ๆ มีจิตวิญญาณไหม?




คำถาม: สัตว์เลี้ยง/สัตว์ต่าง ๆ ได้ขึ้นสวรรค์ไหม? สัตว์เลี้ยง/สัตว์ต่าง ๆ มีจิตวิญญาณไหม?

คำตอบ:
พระคัมภีร์ไม่ได้บอกชัดเจนว่าสัตว์/สัตว์เลี้ยงมี “วิญญาณจิต” หรือไม่ หรือ สัตว์/สัตว์เลี้ยงจะได้ไปสวรรค์หรือไม่ แต่เราสามารถใช้หลักการทั่วไปในพระคัมภีร์ทำความเข้าใจหัวข้อนี้ได้ พระคัมภีร์บอกว่าทั้งผู้หญิง, ผู้ชาย (ปฐมกาล 2:7) และสัตว์ (ปฐมกาล 1:30; 6:17; 7:15-22) มีลมหายใจ ข้อแตกต่างเบื้องต้นระหว่างมนุษย์และสัตว์คือ มนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาตามแบบพระฉายาของพระเจ้า (ปฐมกาล 1:26-27) แต่สัตว์ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาตามแบบพระฉายาของพระองค์ การถูกสร้างขึ้นมาตามแบบพระฉายาของพระเจ้าหมายความว่ามนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาตามแบบพระเจ้า, มีวิญญาณจิต, ซึ่งประกอบด้วย ความคิด อารมณ์ และ เจตนารมณ์ – และ มีชีวิตหลังความตาย หากสัตว์/สัตว์เลี้ยงมี “วิญญาณจิต” หรือ วิญญาณจริง ๆ วิญญาณนั้นก็จะต้องแตกต่างหรือมี “คุณภาพ” ด้อยกว่าวิญญาณจิตของมนุษย์ ความแตกต่างนี้น่าจะหมายความว่า “วิญญาณจิต” ของสัตว์/สัตว์เลี้ยงไม่ดำเนินต่อไปหลังความตาย

ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณาสำหรับคำถามนี้คือ พระเจ้าได้ทรงสร้างสัตว์ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งในขบวนการทรงสร้างของพระองค์ในหนังสือปฐมกาล พระเจ้าทรงสร้างสัตว์ขึ้นมาแล้วทรงเห็นว่าดี (ปฐมกาล 1:25) ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลว่าทำไมจึงจะไม่มีสัตว์ในโลกใหม่ (วิวรณ์ 21:1) สำหรับยุคพันปีมีความเป็นไปได้ว่าจะต้องมีสัตว์อยู่ที่นั่นด้วย (อิสยาห์ 11:6; 65:25) แต่การที่จะพูดอย่างแน่นอนว่าสัตว์เหล่านั้นบางตัวอาจเป็นสัตว์เลี้ยงของเราในโลกนี้ ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เรารู้ว่าพระเจ้าทรงยุติธรรม และเมื่อเราได้ไปสวรรค์เราก็จะรู้ว่าเราเห็นพ้องต้องกันกับพระองค์เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าคำตอบจะเป็นอย่างไรก็ตาม





สัตว์เลี้ยง/สัตว์ต่าง ๆ ได้ขึ้นสวรรค์ไหม? สัตว์เลี้ยง/สัตว์ต่าง ๆ มีจิตวิญญาณไหม?

พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับไดโนเสาร์ไว้ว่าอย่างไร? ในพระคัมภีร์มีไดโนเสาร์หรือไม่?




คำถาม: พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับไดโนเสาร์ไว้ว่าอย่างไร? ในพระคัมภีร์มีไดโนเสาร์หรือไม่?

คำตอบ:
หัวข้อเกี่ยวกับไดโนเสาร์ในพระคัมภีร์เป็นส่วนย่อยของหัวข้อใหญ่ที่มีการถกเถียงกันตลอดมาในแวดวงคริสเตียนเกี่ยวกับ ยุคต่าง ๆ ของโลก, การตีความหมายของหนังสือปฐมกาลที่ถูกต้องเหมาะสม, และเราจะตีความหมายพยานหลักฐานทางกายภาพที่เห็นอยู่รอบตัวเราอย่างไร ผู้ที่เชื่อในยุคที่โลกถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ๆ ไม่นานนัก มีแนวโน้มที่จะเชื่อว่าพระคัมภีร์ไม่ได้ เอ่ยถึงไดโนเสาร์ เพราะตามความเห็นของเขา ไดโนเสาร์ได้สูญพันธ์ไปแล้วเป็นล้าน ๆ ปีก่อนที่มนุษย์คนแรกจะถือกำเนิดขึ้นมาบนโลก ดังนั้นผู้ที่บันทึกพระคัมภีร์จึงไม่มีโอกาสที่จะได้เห็นไดโนเสาร์เป็น ๆ แน่นอน

ส่วนผู้ที่เชื่อในยุคถัดมามีแนวโน้มที่จะเชื่อว่าพระคัมภีร์ได้มี บันทึกเกี่ยวกับไดโนเสาร์ไว้แม้ว่าจะไม่ได้ใช้คำว่า “ไดโนเสาร์” ก็ตาม แทนที่จะใช้คำว่าไดโนเสาร์ พระคัมภีร์ใช้คำว่า tanniyn ซึ่งเป็นภาษาฮีบรู ในพระคัมภีร์ฉบับภาษาอังกฤษของเรา คำว่า tanniyn ถูกแปลต่างกันออกไป; บางครั้งใช้คำว่า “สัตว์ประหลาดในท้องทะเล” บางครั้งใช้คำว่า “งูดึกดำบรรพ์” แต่คำแปลที่เป็นที่นิยม คือ “มังกร” Tanniyn ดูเหมือนว่าจะเป็นสัตว์อะไรบางอย่างจำพวกสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ สัตว์เหล่านี้ถูกกล่าวถึงเกือบสามสิบครั้งในพันธสัญญาเดิมและมีอยู่ทั้งบนบกและในน้ำ

นอกจากพระคัมภีร์เดิมจะกล่าวถึงสัตว์เลื้อยคลานยักษ์เหล่านี้เกือบสามสิบครั้งแล้ว พระคัมภีร์ยังบรรยายเกี่ยวกับมันสองสามตัว ซึ่งเมื่อดูจากคำบรรยายลักษณะของมันแล้วผู้ทรงคุณวุฒิเชื่อว่าผู้บันทึกคงจะบรรยายถึงไดโนเสาร์ พระคัมภีร์กล่าวว่า เบเฮโมท เป็นสัตว์ที่ทรงพลังมากที่สุดในบรรดาสรรพสิ่งที่พระเจ้าทรงสร้าง เป็นสัตว์ยักษ์ที่มีหางเหมือนไม้สนสีดาร์ (โยบ 40:15) ผู้ทรงคุณวุฒิบางคนได้พยายามโยงเบเฮโมทกับช้างหรือฮิปโปโปเตมัสเข้าด้วยกัน แต่บางคนบอกว่าช้างและฮิปโปโปเตมัสมีหางเล็กบาง เทียบไม่ได้กับไม้สนสีดาร์ แต่ไดโนเสาร์ประเภทแบรคซีโอซอรัส และ ไดโพลโดคัส มีหางใหญ่ซึ่งอาจนำมาเปรียบเทียบได้กับไม้สนสีดาร์

อารยธรรมโบราณเกือบทุกอารยธรรมจะต้องมีภาพวาดเกี่ยวกับสัตว์เลื้อยคลานขนาดยักษ์ ปรากฏอยู่ ภาพวาดหรือแกะสลักบนหิน, สิ่งของเครื่องใช้ หรือแม้แต่เครื่องปั้นดินเผา ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ ดูคล้ายคลึงกับภาพเหมือนไดโนเสาร์ในปัจจุบัน มีภาพแกะสลักบนหินที่ทวีปอเมริกาใต้ภาพหนึ่งเป็นภาพของผู้ชายขี่สัตว์ที่ดูคล้ายกับไดโนเสาร์พันธ์ไดโพลโดคัส และที่น่าอัศจรรย์คือ ภาพอื่น ๆ ดูเหมือนเป็นภาพของสัตว์ที่คล้ายกับทรีเซอราทอป, เทอโรแดคทริล และ ไทแรนโนซอรัส เร็คส์ ภาพลงหินลวดลายโมเซอิคของชาวโรมัน, เครื่องปั้นดินเผาของชนเผ่ามายัน, และกำแพงเมืองบาบิโลน ล้วนแสดงให้เห็นถึงความหลงใหลในสัตว์เหล่านี้ของมนุษย์ ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ในวัฒนธรรมไหน, ภูมิภาคไหนในโลกก็ตาม ในหนังสือชื่อ Il Milione ที่มาร์โค โปโลเขียนเกี่ยวกับการเดินทางของเขา เขาได้ผสมเรื่องราวที่น่าอัศจรรย์เกี่ยวกับสัตว์เฝ้าสมบัติเข้าไปด้วย ในปัจจุบันรายงานเกี่ยวกับสัตว์เหล่านี้ยังมีอยู่แม้ว่ามันจะถูกมองด้วยความสงสัยเป็นอย่างมาก

นอกจากหลักฐานมากมายทางด้านมานุษย์วิทยาและประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่ามีไดโนเสาร์อยู่ร่วมกับมนุษย์มาแล้ว ยังมีหลักฐานทางกายภาพอื่น ๆ อีกด้วย เช่นได้มีการค้นพบฟอสซิลของรอยเท้าของมนุษย์และไดโนเสาร์อยู่ด้วยกันในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอาเซียตะวันตกและกลาง

แล้วมีไดโนเสาร์ในพระคัมภีร์หรือไม่? คำตอบยังไม่แน่นอน มันขึ้นอยู่กับว่าท่านตีความหมายของหลักฐานที่มีอยู่อย่างไร และมีมุมมองต่อโลกรอบ ๆ ตัวอย่างไร แต่พวกเราที่ GotQuestions.org เชื่อการตีความหมายในยุคถัดมา และเชื่อว่าไดโนเสาร์และมนุษย์เคยอยู่ร่วมกัน เราเชื่อว่าไดโนเสาร์สูญพันธ์หลังน้ำท่วมโลกเนื่องจากผลผสมกันของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและความจริงที่ว่าพวกมันถูกล่าโดยมนุษย์จนสูญพันธ์ไป





พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับไดโนเสาร์ไว้ว่าอย่างไร? ในพระคัมภีร์มีไดโนเสาร์หรือไม่?

ภรรยาของคาอินคือใคร? ภรรยาของคาอินคือน้องสาวของเขาใช่หรือไม่?




คำถาม: ภรรยาของคาอินคือใคร? ภรรยาของคาอินคือน้องสาวของเขาใช่หรือไม่?

คำตอบ:
พระคัมภีร์ไม่ได้บอกชัดเจนว่าภรรยาของคาอินคือใคร คำตอบเดียวที่มีความเป็นไปได้คือ ภรรยาของคาอินคือน้องหรือไม่ก็หลานหรือเหลนของเขา ฯลฯ พระคัมภีร์ไม่ได้บอกว่าคาอินอายุเท่าไหร่เมื่อเขาฆ่าอาเบล (ปฐมกาล 4:8) แต่เนื่องจากทั้งสองคนเป็นชาวไร่ ดังนั้นเขาทั้งสองคงเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวและคงมีครอบครัวแล้ว ในตอนที่อาเบลถูกฆ่าตาย อาดัมและเอวาคงมีลูกคนอื่น ๆ อีกนอกเหนือไปจากคาอินและอาเบล และต่อมาเขาคงมีลูกอีกมากมายอย่างแน่นอน (ปฐมกาล 5:4) จากการที่คาอินกลัวโดนฆ่าหลังจากที่เขาได้ฆ่าอาเบลแล้ว (ปฐมกาล 4:14) แสดงว่าอาดัมและเอวาคงมีลูกหลานหรือเหลนอีกมากมายหลายคน ภรรยาของคาอิน (ปฐมกาล 4:17) คือ ลูกหรือหลานของอาดัมและเอวานั่นเอง

เนื่องจากอาดัมและเอวาเป็นมนุษย์คู่แรก (และคู่เดียว) ลูกหลานของเขาจึงไม่มีทางเลือกนอกจากจะแต่งงานกันเองในหมู่พี่น้อง พระเจ้าไม่ได้ทรงห้ามการแต่งงานกันเองในหมู่ญาติพี่น้องจนกระทั่งเวลาผ่านไปนานพอสมควรเมื่อมีคนมากพอที่จะไม่ต้องทำเช่นนั้นอีก (เลวีนิติ 18:6-18) เหตุผลที่การแต่งงานกันเองในหมู่พี่น้องมักจะทำให้ลูกที่เกิดมามีความผิดปกติ คือ เมื่อคนสองคนที่มียีนที่ใกล้เคียงกัน (เช่นพี่ชายกับน้องสาว) มีลูก ความผิดปกติของยีนในลูกจะมีมากขึ้นเพราะทั้งพ่อและแม่มียีนที่ผิดปกติเหมือนกันทั้งคู่ แต่เมื่อคนที่มาจากต่างครอบครัวมีลูก ความเป็นไปได้ที่ทั้งพ่อและแม่จะมียีนที่ไม่ปกติเหมือนกันมีอยู่น้อยมาก ยีนในตัวของมนุษย์เริ่มถูก “ปนเปื้อน” มากขึ้นเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ผ่านไปเพราะความผิดปกติในยีน (ที่ทวีคูณขึ้น ขยายตัวมากขึ้น) ถูกถ่ายทอดจากพ่อแม่มายังลูกหลานเหลนในตระกูลเรื่อยมา อาดัมและเอวาไม่ได้มีความผิดปกติในยีน ดังนั้น ลูกหลานเหลนของเขาในช่วงแรก ๆ จึงมีสุขภาพดีกว่าเราในปัจจุบัน ลูกหลานของอาดัมและเอวามียีนที่ผิดปกติน้อยมากหากพวกเขาเกิดจะมีมันขึ้นมา ดังนั้นการแต่งงานในหมู่ญาติพี่น้องจึงปลอดภัย มันอาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องแปลกและน่ารังเกียจที่คิดว่าภรรยาของคาอินคือน้องของเขาเอง แต่ในยุคแรก เมื่อพระเจ้าทรงเริ่มต้นด้วยมนุษย์ผู้ชายหนึ่งคนและผู้หญิงหนึ่งคนเท่านั้น คนในยุคที่สองจึงไม่มีทางเลือกนอกจากจะแต่งงานกันเองในหมู่ญาติพี่น้องนั้น





ภรรยาของคาอินคือใคร? ภรรยาของคาอินคือน้องสาวของเขาใช่หรือไม่?

พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับเรื่องการรักร่วมเพศว่าอย่างไร? การเล่นรักร่วมเพศเป็นความบาปหรือไม่?




คำถาม: พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับเรื่องการรักร่วมเพศว่าอย่างไร? การเล่นรักร่วมเพศเป็นความบาปหรือไม่?

คำตอบ:
พระคัมภีร์บอกอยู่ตลอดเวลาว่าการเล่นรักร่วมเพศเป็นความบาป (ปฐมกาล 19:1-13; เลวีนิติ 18:22; โรม 1:26-27; 1 โครินธ์ 6:9) โรม 1:26-27 สอนอย่างเจาะจงว่าการเล่นรักร่วมเพศคือผลของการปฏิเสธและไม่เชื่อฟังพระเจ้า พระคัมภีร์บอกว่าเมื่อคน ๆ หนึ่งอยากเดินอยู่ในความบาปและความไม่เชื่อฟังโดยไม่ยอมหยุด พระเจ้าจึงทรง “ปล่อยให้เขา” ทำความชั่วร้ายและเลวทรามมากขึ้น เพื่อแสดงให้เขาเห็นถึงชีวิตที่สิ้นหวังและหาประโยชน์ไม่ได้เมื่อออกห่างจากพระเจ้า ข้อพระคัมภีร์ 1 โครินธ์ 6:9 กล่าวว่าผู้ที่ “สร้างความขุ่นเคืองพระทัย” ด้วยการเล่นรักร่วมเพศจะไม่ได้รับอาณาจักรของพระเจ้าเป็นมรดก

พระเจ้าไม่ได้ทรงสร้างมนุษย์ให้มีความปรารถนาที่จะเล่นรักร่วมเพศ พระคัมภีร์บอกว่าคนกลายเป็นคนเล่นรักร่วมเพศก็เพราะความบาป (โรม 1:24-27) และท้ายที่สุดมันอยู่ที่ความต้องการของเขาเอง คนบางคนอาจเกิดมาโดยมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ที่เล่นรักร่วมเพศ เหมือนกับคนบางคนที่เกิดมาพร้อมกับมีแนวโน้มว่าจะเป็นคนก้าวร้าวรุนแรงหรือทำความบาปอื่น ๆ แต่นี่ไม่ใช่ข้ออ้างเพื่อที่จะให้เขาเลือกที่จะทำบาปโดยยอมจำนนต่อความปรารถนาที่เป็นความบาปของเขา หากคน ๆ หนึ่งเกิดมาโดยมีแนวโน้มที่จะเป็นคนที่มีความโกรธ/ฉุนเฉียวอย่างแรง มันถูกต้องไหมที่เขาจะยอมจำนนต่อความปรารถนานั้น? ไม่ถูกต้องแน่นอน! ก็เหมือนกันกับการเล่นรักร่วมเพศ

แต่พระคัมภีร์ไม่ได้บอกว่าการเล่นรักร่วมเพศเป็นความบาปที่ “ร้ายแรง” กว่าความบาปอย่างอื่น ความบาปทุกชนิดเป็นที่ขุ่นเคืองพระทัยของพระเจ้า การเล่นรักร่วมเพศเป็นเพียงหนึ่งในความบาปหลาย ๆ อย่างที่ข้อพระคัมภีร์ 1 โครินธ์ 6:9-10 กล่าวถึง ซึ่งจะทำให้คนทำไปไม่ถึงแผ่นดินของพระเจ้า ตามที่พระคัมภีร์มีบันทึกไว้พระเจ้าทรงให้อภัยคนเล่นรักร่วมเพศเหมือนกันกับ คนล่วงประเวณี คนถือรูปเคารพ คนผิดผัวเมียเขา ฆาตกร ฯลฯ พระเจ้าย้งทรงสัญญาไว้ด้วยว่าพระองค์จะประทานกำลังและชัยชนะเหนือความบาป, รวมถึงการเล่นรักร่วมเพศด้วย, ให้กับผู้ที่เชื่อในพระเยซูคริสต์สำหรับความรอดของเขา (1 โครินธ์ 6:11; 2 โครินธ์ 5:17)





พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับเรื่องการรักร่วมเพศว่าอย่างไร? การเล่นรักร่วมเพศเป็นความบาปหรือไม่?

การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง - เป็นความบาปหรือไม่ตามพระคัมภีร์?




คำถาม: การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง - เป็นความบาปหรือไม่ตามพระคัมภีร์?

คำตอบ:
พระคัมภีร์ไม่ได้กล่าวอย่างชัดเจนหรือบอกว่าการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเป็นความบาป แต่ว่าการกระทำที่นำไปสู่การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเป็นความบาปแน่นอนอย่างไม่ต้องสงสัย การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเป็นผลของความคิดที่เป็นตัณหา, การปลุกเร้าทางเพศ, และ/หรือ การดูสื่อลามก ปัญหาเหล่านี้แหละที่เราต้องจัดการกับมัน หากความบาปอันเนื่องมาจากตัณหาและสื่อลามกถูกตัดออกไปและถูกเอาชนะได้ - ปัญหาของการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองก็จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป

พระคัมภีร์บอกให้เราหลีกเลี่ยงแม้แต่การเอ่ยถึงเรื่องทางเพศที่ผิดศีลธรรม (เอเฟซัส 5:3) ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองจะผ่านการทดสอบที่เจาะจงนี้ไปได้อย่างไร บางครั้งการทดสอบว่าอะไรคือความบาปหรือไม่ คือ ท่านสามารถบอกคนอื่นด้วยความภูมิใจได้ไหมว่าท่านเพิ่งทำอะไรลงไป หากท่านอายหรือมีความรู้สึกผิดหากคนอื่นรู้เข้า สิ่งที่ท่านทำไปก็เข้าข่ายว่าเป็นความบาป ข้อทดสอบที่ดีอีกข้อหนึ่งคือ ท่านสามารถขออย่างจริงใจและด้วยจิตสำนึกที่ดีให้พระเจ้าอวยพรและใช้กิจกรรมนั้นเพื่อการดีของพระองค์ได้หรือไม่ ข้าพเจ้าไม่คิดว่าการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเป็นอะไรที่เรา “ภูมิใจ” หรือสามารถขอบคุณพระเจ้าได้อย่างจริงใจ

พระคัมภีร์สอนว่า “เหตุฉะนั้นเมื่อท่านจะรับประทาน จะดื่ม หรือจะทำอะไรก็ตาม จงกระทำเพื่อเป็นการถวายพระเกียรตแด่พระเจ้า” (1 โครินธ์ 10:31) หากการกระทำนั้นเปิดช่องให้ท่านสงสัยว่าพระเจ้าจะทรงพอพระทัยหรือไม่ การไม่ทำก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเปิดช่องให้สงสัยแน่นอน “เพราะการกระทำใดๆก็ตามที่มิได้กระทำด้วยความเชื่อก็เป็นบาปทั้งสิ้น” (โรม 14:23) ตามที่พระคัมภีร์บอกไว้ ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองจะถวายเกียรติพระเจ้าได้อย่างไร นอกจากนั้นเราจำเป็นที่จะต้องจำไว้ว่าร่างกายของเรา รวมทั้งจิตวิญญาณของเราด้วยได้รับการไถ่ไว้แล้วและเป็นของพระเจ้า “ท่านไม่รู้หรือว่า ร่างกายของท่านเป็นวิหารของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งสถิตอยู่ในท่าน ซึ่งท่านได้รับจากพระเจ้า ท่านไม่ใช่เจ้าของตัวท่านเอง พระเจ้าได้ทรงซื้อท่านไว้แล้วตามราคา เหตุฉะนั้นท่านจงถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าด้วยร่างกายของท่าน และด้วยจิตวิญญาณของท่าน ซึ่งเป็นของพระเจ้า” (1 โครินธ์ 6:19-20) ความจริงที่ยิ่งใหญ่นี้ควรจะเป็นเครื่องเตือนใจว่าเรากำลังทำอะไรกับร่างกายของเราและพาร่างกายของเราไปในสถานที่อย่างไร ดังนั้นตามหลักการเหล่านี้ ข้าพเจ้าต้องพูดว่าการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเป็นความบาปอย่างแน่นอนตามที่มีบอกไว้ในพระคัมภีร์ ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า, หรือเป็นการหลีกเลี่ยงสิ่งที่ผิดศีลธรรม, หรือผ่านการทดสอบของพระเจ้าผู้ซึ่งทรงเป็นเจ้าของร่างกายของเรา





การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง - เป็นความบาปหรือไม่ตามพระคัมภีร์?