คำถามเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์



คำถามเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์





คำถามเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์

พระเยซูคริสต์เป็นใคร?




คำถาม: พระเยซูคริสต์เป็นใคร?

คำตอบ:
พระเยซูคริสต์เป็นใคร? ไม่เหมืิอนกับคำถามที่ว่า “พระเจ้ามีอยู่จริงไหม?” น้อยคนจะถามว่าพระเยซูคริสต์มีอยู่จริงไหม โดยทั่วไปผู้คนยอมรัับว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นมนุษย์และทรงอยู่ในโลกนี้ที่ประเทศอิสราเอลเมื่อเกือบ2000 ปีที่ผ่านมา การถกเกิดขึ้นเมื่อหลักฐานแสดงตัวตนของพระองค์ถูกนำมาอภิปราย เกือบทุกศาสนามีหลักสอนว่าพระเยซูคืิอผู้เผยพระวจนะ หรืออาจารย์ที่ดี หรือคนที่เคร่งศาสนา ปัญหาคือ พระคัีมภีร์บอกเราว่าพระเยซูทรงเป็นมากกว่าผู้เผยพระวจนะ หรืออาจารย์ที่ดี หรือคนที่เคร่งศาสนาคนหนึ่ง

C.S. Lewis ผู้เขียนหนังสือ ชื่่อ คริสเตียนธรรมดา (Mere Christianity) เขียนว่า “ข้่าพเจ้าพยายามที่จะไม่ให้ใคร ๆ พูดอะไรโ่ง่ ๆ ที่คนชอบพูดกันเกี่ยวกับพระองค์ (พระเยซูคริสต์): เช่นว่า ฉัีนพร้อมที่จะยอมรับพระเยซูว่าเป็นผู้สอนทางด้านคุณธรรมที่ดี แต่รับไม่ได้กับการอ้างว่าทรงเป็นพระเจ้า” นี่เป็นอะไรที่เราไม่ควรพูด เพราะหากคนธรรมดา ๆ จะพูดอะไร ๆ มากมายหลายอย่าง อย่างที่พระเยซูคริสต์ตรัีส ไม่น่าจะเป็นอาจารย์ที่ดีได้ แต่น่าจะเป็นคนบ้ามากกว่า -- ระดับเดียวกับคนที่พูดว่าตัวเองเป็นไข่ต้ม -- หรือไม่ก็เป็นมารซาตานมาจากนรก คุณต้องเลือก หากพระองค์ไม่ใช่พระบุตรของพระเจ้า ก็จะต้องเป็นคนบ้าหรืออะไรที่แย่ยิ่งกว่านั้น… คุณสามารถมองว่าพระองค์ทรงเป็นคนโง่คนบ้่าคนหนึ่ง ถ่มน้ำลายรดพระองค์ แล้วปลงพระชนม์พระองค์ในฐานะมารซาตาน หรือซบลงแทบพระบาทของพระองค์แล้วเรียกพระองค์ว่าองค์พระผู้เป็นเจ้า แต่อย่าทำมาเป็นพูดเหลวไหลเลยว่าพระองค์ทรงเป็นอาจารย์ที่ดีคนหนึ่ง พระองค์ไม่ได้ให้ทรงเราเลือกแบบนั้น และไม่ได้ทรงตั้งพระทัยเช่นนั้น”

แล้วพระองค์ทรงอ้างว่าทรงเป็นผู้ใด? พระคัมภีร์บอกว่าพระองค์ทรงเป็นใคร? ประการแรกให้เราดูพระวจนะของพระเยซูในหนังสือยอห์น 10:30 “เรากับพระบิดาของเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” เมื่อมองอย่างเผิน ๆ นี่อาจดูเหมือนว่าไม่ใช่การยอมรับว่าทรงเป็นพระเจ้า แต่ ให้เรามาดูกันที่ปฎิกริยาของชาวยิวต่อคำพูดประโยคนี้ “เราจะขว้างท่านมิใช่เพราะการกระทำดี แต่เพราะการพูดหมิ่นประมาท เพราะท่านเป็นเพียงมนุษย์แต่ตั้งตัวเป็นพระเจ้า” (ยอห์น 10:33) คนยิวเข้าใจดีว่าคำกล่้าวของพระเยซูคือการยอมรับว่าทรงเป็นพระเจ้า ในข้อพระคัมภีร์ข้อต่อ ๆ มา พระเยซูไม่ได้ทรงแก้ไขคำพูดของชาวยิวโดยปฏิเสธว่า “เราไม่ได้อ้างตัวว่าเป็นพระเจ้า” นั่นชี้ให้เห็นว่าพระเยซูตรัสว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าโดยการประกาศว่า “เรากับพระบิดาของเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” (ยอห์น 10:30) ยอห์น 8:58 เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง “เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ก่อนอับราฮัมบังเกิดมานั้นเราเป็น” อีกครั้งหนึ่งที่พวกยิวตอบโต้พระองค์ด้วยการหยิบก้อนหินขึ้นมาจะขว้างพระองค์ (ยอห์น 8:59) การประกาศหลักฐานแสดงตัวตนของพระองค์ว่า “เราเป็น” คือการนำพระนามที่ใช้เรียกพระเจ้าในพันธสัญญาเดิมมาใช้โดยตรง (อพยพ 3:14) ทำไมชาวยิวจึงต้องการเอาหินขว้างพระองค์อีก หากพระองค์ไม่ได้ตรัสอะไรบางอย่างที่พวกเขาคิดว่าเป็นการหมิ่นประมาทพระเจ้า ซึ่งก็คือ การอ้างพระองค์ว่าทรงเป็นพระเจ้า?

ยอห์น 1:1 กล่าวว่า “พระวาทะทรงเป็นพระเจ้า” ยอห์น 1:14 กล่าวว่า “พระวาทะได้ทรงสภาพของเนื้อหนัง” นี่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าในสภาพเนื้อหนัง สาวกโธมัสประกาศต่อหน้าพระเยซูว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ และพระเจ้าของข้าพระองค์” และพระองค์ไม่ได้ทรงแก้ไขเขา อัครสาวกยอห์นอธิบายเกี่ยวกับพระองค์ว่า “….พระเจ้าใหญ่ยิ่ง และพระเยซูคริสต์พระผู้ช่วยให้รอดของเรา” (ทิตัส 2:13) อัครสาวกเปโตรพูดอย่างเดียวกัน “…. พระเจ้าและพระเยซูคริสต์พระผู้ช่วยให้รอดของเราทั้งหลาย” พระเจ้าพระบิดาก็ทรงเป็นพยานเกี่ยวกับหลักฐานแสดงดัวตนของพระเยซูคริสต์เช่นกัน พระองค์ตรัสว่า “โอ พระเจ้าข้า พระที่นั่งของพระองค์ดำรงเป็นนิตย์และเป็นนิตย์ ธารพระกรแห่งอาณาจักรของพระองค์ก็เป็นธารพระกรเที่ยงธรรม” (สดุดี 45:6) คำเผยพระวจนะเกี่ยวกับพระเจ้าในพันธสัญญาเดิมกล่าวถึงความเป็นพระเจ้าของพระองค์ว่า “ด้วยมีเด็กคนหนึ่งเกิดมาเพื่อเรา มีบุตรชายคนหนึ่งประทานมาให้เรา และการปกครองจะอยู่ที่บ่าของท่าน และท่านจะเรียกนามของท่านว่า "ผู้ที่มหัศจรรย์ ที่ปรึกษา พระเจ้าผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ พระบิดานิรันดร์ องค์สันติราช" (อิสยาห์ 9:6)

C.S. Lewis ถกว่า การเลือกเชื่อว่าพระเยซูเป็นอาจารย์ที่ดีไม่ใช่ตัวเลือก เพราะพระองค์ประกาศอย่างชัดเจนโดยเราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า ดังนั้น หากพระองค์ไม่ใช่พระเจ้า พระองค์ก็จะต้องเป็นจอมโกหก หากพระองค์ทรงเป็นนักโกหก พระองค์ก็จะต้องไม่ใช่ผู้เผยพระวจนะ หรืออาจารย์ที่ดี หรือ คนที่เคร่งศาสนา แน่นอน ในความพยายามที่จะอธิบายเกี่ยวกับพระเยซูของ “นักวิชาการ” สมัยใหม่ พวกเขาบอกว่า “พระเยซูองค์แท้จริงในประวัติศาสตร์” ไม่ได้ตรัสหลาย ๆ อย่างที่พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับพระองค์ เราเป็นใครกันที่จะมาเถียงพระวจนะของพระเจ้าเกี่ยวกับว่าพระเยซูตรัสและไม่ได้ตรัสอะไร “นักวิชาการ” ที่เกิดห่างจากพระเยซูตั้งสองพันปีจะรู้ดีว่าพระองค์ตรัสหรือไม่ได้ตรัสอะไรกว่าคนที่อยู่กับพระองค์ ปรนิบัติพระองค์ และ ได้รัีบการสอนจากพระองค์ได้อย่างไร? (ยอห์น 14:26)?

ทำไมคำถามเกี่ยวกับหลักฐานที่พิสูจน์ว่าพระเยซูทรงเป็นใครจึงสำคัญ? ทำไม่ถึงการที่พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าหรือไม่จึงเป็นเรื่องสำคัีญ? เหตุผลที่สำคัญที่สุดก็คือ พระเยซูจะต้องทรงเป็นพระเจ้า หากไม่ใช่ การสิ้นพระชนมฺ์ของพระองค์ก็คงจะไม่เพียงพอที่จะไถ่บาปให้กับคนทั้งโลก (1 ยอห์น 2:2) มีพระเจ้าแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่ทรงสามารถจ่ายค่าจ้างที่ไม่มีที่สิ้นสุดได้ (โรม 5:8; 2 โครินธ์ 5:21) พระเยซูจะต้องทรงเป็นพระเจ้าเพื่อที่พระองค์จะได้ทรงไถ่บาปให้กับเราได้ พระองค์จะต้องทรงเป็นมนุษย์ เพื่อที่พระองค์จะทรงสิ้นพระชนม์ได้ เราจะรับความรอดได้ก็โดยความเชื่อในพระเยซูคริสต์เท่านั้น! ด้วยความเป็นพระเจ้าของพระองค์คือเหตุผลว่าทำไมพระองค์จึงทรงเป็นทางเดียวที่นำเราไปสู่ความรอด ด้วยความเป็นพระเจ้าของพระองค์คือเหตุผลว่าทำไม่พระองค์จึงทรงประกาศว่า “เราเป็นทางนั้น เป็นความจริง และเป็นชีวิต ไม่มีผู้ใดมาถึงพระบิดาได้นอกจากมาทางเรา” (ยอห์น 14:6)





พระเยซูคริสต์เป็นใคร?

พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าใช่หรือไม่? พระเยซูเคยอ้างว่าทรงเป็นพระเจ้าใช่หรือไม่?




คำถาม: พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าใช่หรือไม่? พระเยซูเคยอ้างว่าทรงเป็นพระเจ้าใช่หรือไม่?

คำตอบ:
พระคัมภีร์ไม่เคยบันทึกไว้ว่าพระเยซูได้ตรัสว่า “เราเป็นพระเจ้า” แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า พระองค์ไม่ได้ยอมรับว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า ให้เราลองมาดูพระวจนะของพระองค์ในข้อพระคัมภีร์ยอห์น 10:30 กัน “เรากับพระบิดาของเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” เมื่อมองในแวบแรก มันอาจจะดูไม่เหมือนว่าเป็นการยอมรับว่าทรงเป็นพระเจ้า แต่จงดูว่าว่าชาวยิวมีปฎิกริยาอย่างไรต่อคำกล่าวนี้ “พวกยิวทูลตอบพระองค์ว่า เราจะขว้างท่านมิใช่เพราะการกระทำดี แต่เพราะการพูดหมิ่นประมาท เพราะท่านเป็นเพียงมนุษย์แต่ตั้งตัวเป็นพระเจ้า”(ยอห์น 10:33) คนยิวเข้าใจดีว่าคำตรัสของพระเยซูเป็นการยอมรับว่าทรงเป็นพระเจ้า ในข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้พระเยซูทรงไม่เคยแก้ตัวกับชาวยิวโดยตรัสว่า “เราไม่ได้อ้างตัวว่าเป็นพระเจ้า” นี่แสดงให้เห็นว่าพระเยซูทรงยอมรับจริง ๆ ว่าทรงเป็นพระเจ้าโดยการประกาศว่า “เรากับพระบิดาของเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” (ยอห์น 10:30) ข้อพระคัมภีร์ยอห์น 8:58 เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง “พระเยซูตรัสกับเขาว่า "เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ก่อนอับราฮัมบังเกิดมานั้นเราเป็น" อีกครั้งหนึ่งที่ชาวยิวตอบโต้ด้วยการหยิบก้อนหินขึ้นมาเพื่อจะขว้างพระองค์ (ยอห์น 8:59) ทำไมชาวยิวจึงต้องการที่จะขว้่างพระองค์หากพระองค์ไม่ได้ตรัสอะไรบางอย่างที่เป็นการหมิ่นประมาทพระนามของพระเจ้า เช่น การกล่าวว่าทรงเป็นพระเจ้า?

ยอห์น 1:1 กล่าวว่า “พระวาทะทรงเป็นพระเจ้า” ยอห์น 1:14 กล่าวว่า “พระวาทะได้ทรงสภาพของเนื้อหนัง” ข้อพระคัมภีร์นี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่าพระเยซูืทรงเป็นพระเจ้าในสภาพของเนื้อหนัง หนังสือกิจการ 20:28 บอกเราว่า “… จงบำรุงเลี้ยงคริสตจักรของพระเจ้า ที่พระองค์ทรงไถ่ด้วยพระโลหิตของพระองค์เอง” ใครทรงไถ่คริสตจักรด้วยพระโลหิตของพระองค์? พระเยซูคริสต์ หนังสือกิจการ 20:28 ประกาศว่าพระเจ้าทรงซื้อคริสตจักรไว้ด้วยพระโลหิตของพระองค์เอง ดังนั้น พระเยซูคือพระเจ้า!

สาวกโธมัสประกาศเกี่ยวกับพระเยซูว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ และพระเจ้าของข้า” (ยอห์น 20:28) พระเยซูทรงไม่โต้แย้งคำกล่าวนั้น พระเยซูทรงไม่ได้แก้ไขคำพูดของเขา ข้อพระคัมภีร์ทิตัส 2:13 หนุนใจให้เราคอยพระเจ้าและพระผู้ช่วยให้รอดของเรา – พระเยซูคริสต์ – (ดู 2 เปโตร 1:1) พระบิดาทรงประกาศเกี่ยวกับพระเยซูว่า “แต่เกี่ยวก้บพระบุตร พระองค์ตรัสว่า “โอ พระเจ้าข้า พระที่นั่งของพระองค์ดำรงเป็นนิตย์และเป็นนิตย์ ธารพระกรแห่ง อาณาจักรของพระองค์ก็เป็นธารพระกรเที่ยงธรรม” (สดุดี 45:6)

ในหนังสือวิวรณ์ ทูตสวรรค์บอกให้อัครสาวกยอห์นนมัสการแต่พระเจ้าเท่านั้น (วิวรณ์ 19:10) หลายครั้งในพระคัมภีร์พระเยซูทรงได้รับการนมัสการ (มัทธิว 2:11; 14:33; 28:9,17; ลูกา 24:52; ยอห์น 9:38) พระองค์ทรงไม่เคยว่ากล่าวผู้ที่นมัสการพระองค์ หากพระเยซูไม่ใช่พระเจ้า พระองค์คงจะต้องบอกผู้คนไม่ให้นมัสการพระองค์ ดัีงเช่นที่ทูตสวรรค์ได้บอกไว้ในหนังสือวิวรณ์ ยังมีข้อพระคัีมภีร์อื่น ๆ อีกมากในพระคัมภีร์ที่ถกถึงความเป็นพระเจ้าของพระเยซู

เหตุผลที่สำคัญที่สุดที่แสดงว่าพระเยซูจะต้องเป็นพระเจ้่า คือ หากพระองค์ไม่ใช่พระเจ้าแล้่ว การสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็คงไม่มีเพียงพอที่จะเป็นค่าไถ่สำหรับความบาปของคนทั้งโลก (1 ยอห์น 2:2) มีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่สามารถจ่ายค่าไถ่สำหรับโทษที่ไม่มีวันหมดได้ มีแต่เพียงพระเจ้าเท่านั้นที่สามารถรับแบกบาปของโลกทั้งโลกไว้ที่พระองค์๋ได้ (1 ยอห์น 2:2) ทรงสิ้นพระชนม์ แล้วทรงฟื้นคืนพระชนม์ -- เพื่อพิสูจน์ถึงชัึยชนะเหนือความบาปและความตาย





พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าใช่หรือไม่? พระเยซูเคยอ้างว่าทรงเป็นพระเจ้าใช่หรือไม่?

พระเยซูทรงฟื้นคืนพระชนม์จริงหรือ?




คำถาม: พระเยซูทรงฟื้นคืนพระชนม์จริงหรือ?

คำตอบ:
ถึงแม้ในพระคัมภีร์ไม่ได้พยายามที่จะ “พิสูจน์” ว่า พระเยซูทรงถูกทำให้ฟื้นขึ้นมาจากความตาย แต่พระคัมภีร์ก็ได้แสดงถึงหลักฐานที่เป็นข้อสรุปได้ว่าพระองค์ทรงฟื้นคืนพระชนม์จริงๆ.. การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์นั้นได้ถูกบันทึกไว้ในพระคัมภีร์มัทธิว 28:1-20; มาระโก 16:1-20; ลูกา 24:1-53 และยอห์น 20:1-21:25 นอกจากนั้น ยังมีปรากฏในพระคัมภีร์กิจการอีกเช่นกัน ( กิจการ 1:1-11) จากข้อพระคัมภีร์ต่าง ๆ เหล่านี้ คุณจะได้รับข้อพิสูจน์มากมายถึงเรื่องการทรงฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ สังเกตุดูได้จากที่เหล่าอัครสาวกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง จากที่พวกเขาเคยหวาดกลัวและหลบซ่อนตัวอยู่แต่ในห้อง ก็พลันเปลี่ยนมาเป็นคนกล้าหาญ และประกาศพระคำของพระเจ้าไปทั่วโลก จะมีอะไรอื่นอีกที่สามารถอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันไปมากกว่าการที่พวกเขาได้เห็นพระเยซูคริสต์ทรงมาปรากฎต่อพวกเขา ?

มาดูชีวิตของอัครสาวกเปาโล อะไรทำให้เขาเปลี่ยนจากการเป็นคนที่กวาดล้างคริสตจักรมาเป็นอัครสาวกผู้ก่อตั้งคริสตจักรเสียเอง ? สิ่งที่ทำให้เขาเปลี่ยนแปลงก็คือในเวลาที่เขาได้เห็นพระคริสต์ปรากฏต่อหน้าเขาบนถนนไปสู่กรุงดาร์มัสกัส ( กิจการ 9:1-6) “ข้อพิสูจน์” ที่แน่ชัดอีกหนึ่งอย่างก็คืออุโมงค์พระศพที่ว่างเปล่า ถ้าหากพระเยซูคริสต์ไม่ได้ฟื้นขึ้นมาจากความตายแล้ว พระศพของพระองค์อยู่ที่ไหนเล่า? เหล่าอัครสาวกและคนอื่น ๆ ก็เห็นพระศพที่พระองค์ทรงถูกฝังอยู่ก่อน แต่เมื่อเขากลับมาอีกครั้ง กลายเป็นว่าพระศพไม่ได้อยู่ที่นั่นแล้ว

เหล่าทูตสวรรค์พากันประกาศว่า พระองค์ทรงฟื้นขึ้นจากความตายดังพระสัญญาของพระองค์ (มัทธิว 28:5-7) และยังมีหลักฐานอีกหนึ่งอย่างเกี่ยวกับการฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์ นั่นคือผู้คนที่พระองค์ปรากฏพระกายต่อหน้าพวกเขา ( มัทธิว 28:5,9,16-17; มาระโก 16:9; ลูกา 24:13-35; ยอห์น 20:19,24,26-29; 21:1-14; กิจการ 1:6-8; 1 โครินธ์ 15:5-7)

ข้อความสำคัญที่กล่าวถึงการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์อยู่ใน พระคัมภีร์ 1 โครินธ์ บทที่ 15 ซึ่งในบทนี้อัครสาวกเปาโลได้อธิบายว่า ทำไมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเข้าใจและเชื่อในเรื่องการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์.. การฟื้นคืนพระชนม์นั้นสำคัญเนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้ :

ประการที่ 1).. ถ้าพระเยซูคริสต์ไม่ได้ทรงฟื้นขึ้นมาจากความตาย ผู้เชื่อทั้งหลายก็จะไม่ถูกทำให้ฟื้นขึ้นมาจากความตาย ด้วยเช่นกัน

ประการที่ 2).. ถ้าพระเยซูคริสต์ไม่ได้ทรงฟื้นขึ้นมาจากความตาย การไถ่บาปของพระองค์ก็ยังไม่เพียงพอกับบาปของเราทั้งหลาย ( 1 โครินธ์ 15:16-19) การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า การยอมวายพระชนม์ของพระองค์นั้นได้รับการยอมรับจากพระเจ้าว่า เป็นการชดใช้หนี้บาปของเรา ถ้าพระองค์สิ้นพระชนม์ แล้วยังไม่ฟื้นขึ้นมา นั่นก็แสดงให้เห็นว่า การไถ่ของพระองค์ยังไม่เพียงพอกับบาป ดังนั้น ผู้เชื่อทั้งหลายก็จะยังไม่ได้รับการอภัยโทษบาป และพวกเขาก็ต้องรับโทษของบาปไปตลอดกาล หลังจากที่พวกเขาเสียชีวิตแล้ว (1 โครินธ์ 15:16-19) และก็จะไม่มีชีวิตนิรันดร์กับพระเจ้าเลย (ยอห์น 3:16). “แต่ความจริงพระเยซูคริสต์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตายแล้ว และทรงเป็นผลแรกในพวกคนทั้งหลายที่ได้ล่วงหลับไปแล้วนั้น” ( 1 โครินธ์ 15:20) พระคริสต์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย – พระองค์ทรงเป็นผลแรกในพวกคนทั้งหลายที่ได้ล่วงหลับไปแล้วนั้น

ประการที่ 3).. สำหรับผู้ที่เชื่อในพระองค์นั้น จะถูกทำให้ฟื้นขึ้นมาสู่ชีวิตนิรันดร์เหมือนอย่างพระองค์ (1 โครินธ์ 15:20-23) และในพระคัมภีร์ 1 โครินธ์ บทที่ 15 ได้อธิบายต่อว่าการทรงเป็นขึ้นมาของพระคริสต์นั้นได้พิสูจน์ถึงชัยชนะของพระองค์ที่อยู่เหนือความบาปได้อย่างไร.. และการนั้นได้ทำให้เรามีพลังที่จะมีชีวิตอยู่ด้วยชัยชนะเหนือความบาปด้วย ( 1 โครินธ์ 15:24-34)

ประการที่ 4).. เป็นการบรรยายถึงธรรมชาติใหม่อันมีสง่าราศีของร่างกายที่ถูกทำให้ฟื้นขึ้นมา โดยเราจะได้รับเช่นเดียวกัน ( 1 โครินธ์ 15:35-49)

ประการที่ 5).. เป็นการประกาศว่า ด้วยผลของการที่พระคริสต์ทรงถูกชุบให้ฟื้นขึ้นมาใหม่ ทุกคนที่เชื่อในพระองค์ก็จะมีชัยชนะเหนือความตายอย่างแน่นอน (1 โครินธ์ 15:50-58) ดูสิ การทรงเป็นขึ้นมาของพระเยซูคริสต์นั้นเป็นความจริงที่น่าเชิดชูเพียงใด ! “เหตุฉะนั้นพี่น้องที่รักของข้าพเจ้า ท่านจงตั้งมั่นอยู่ อย่าหวั่นไหว จงปฏิบัติงานขององค์พระผู้เป็นเจ้าให้บริบูรณ์ทุกเวลา ท่านทั้งหลายพึงรู้ว่า โดยองค์พระผู้เป็นเจ้า การของท่านจะไร้ประโยชน์ก็หามิได้” (1 โครินธ์ 15:58)





พระเยซูทรงฟื้นคืนพระชนม์จริงหรือ?

ความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์เหมือนอย่างที่พระคัมภีร์เขียนไว้หรือไม่?




คำถาม: ความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์เหมือนอย่างที่พระคัมภีร์เขียนไว้หรือไม่?

คำตอบ:
นอกเหนือจากสิ่งที่พระเยซูตรัส เกี่ยวกับความเป็นพระองค์เองแล้ว เหล่าอัครสาวกของพระองค์ยังรับรู้ว่าพระองค์เป็นพระเจ้าด้วยเช่นกัน พวกเขากล่าวว่าพระเยซูทรงมีสิทธิอำนาจในการยกโทษบาปซึ่งเป็นสิ่งที่มีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่ทรงสามารถกระทำได้ เพราะมีเพียงพระเจ้าแต่เพียงองค์เดียวที่เกลียดชังความบาป ( กิจการ5:31; โคโลสี 3:13; สดุดี 130:4; เยเรมีย์ 31:34) นอกจากนี้แล้ว พระเยซูยังทรงเป็น “ผู้พิพากษาคนเป็นและคนตาย” ( 2 ทิโมธี 4:1) โธมัสร้องเรียกพระเยซูว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ และพระเจ้าของข้าพระองค์!” ( ยอห์น 20:28) เปาโลเรียกพระเยซูว่า “พระเยซูคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอดของเรา” ( ทิตัส 2:13) และระบุว่าก่อนที่พระองค์จะมาประสูติเป็นมนุษย์ พระเยซูทรงสภาพเป็นพระเจ้าอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว ( ฟิลิปปี 2:5–8) ผู้เขียนหนังสือถึงชาวฮีบรูได้พูดถึงพระเยซูว่า “พระเจ้าข้า พระที่นั่งของพระองค์ดำรงอยู่เป็นนิตย์นิรันดร์” ( ฮีบรู 1:8) ยอห์นกล่าวว่า “ในปฐมกาลพระวาทะดำรงอยู่ และพระวาทะทรงสถิตอยู่กับพระเจ้า และพระวาทะทรงเป็นพระเจ้า” ( ยอห์น 1:1) ตัวอย่างในพระคัมภีร์ที่สอนเรื่องความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์นั้นมีอีกมากมาย (ดูใน วิวรณ์ 1:17; 2:8; 22:13; 1 โครินธ์ 10:4; 1 เปโตร 2:6–8; สดุดี 18:2; 95:1; 1 เปโตร 5:4; ฮีบรู 13:20) แต่แม้กล่าวถึงเพียงข้อใดข้อหนึ่งในพระคำเหล่านี้ ก็เพียงพอแล้วที่จะแสดงว่าบรรดาผู้ติดตามพระคริสต์นั้นเชื่อว่าพระคริสต์ทรงเป็นพระเจ้า

ในพระคัมภีร์เดิมนั้น พระเยซูยังทรงได้รับพระนามเท่าเทียมกับพระนามยาเวห์ (พระนามอย่างเป็นทางการของพระเจ้า) คำว่า “พระผู้ไถ่” ในพระคัมภีร์เดิม ( สดุดี 130:7; โฮเซยา 13:14) ได้ถูกใช้แทนพระเยซูในพระคัมภีร์ใหม่เช่นกัน ( ทิตัส 2:13; วิวรณ์ 5:9) พระเยซูทรงได้รับการขนานนามว่า อิมมานูเอล (“พระเจ้าทรงอยู่กับเรา” ใน มัทธิวบทที่ 1) และใน เศคาริยาห์ 12:10 ยาเวห์คือองค์ผู้ตรัสว่า “...ดังนั้นเมื่อเขาทั้งหลายมองดูเรา ผู้ซึ่งเขาเองได้แทง…” แต่ในพระคัมภีร์ใหม่ได้หมายถึงการที่พระคริสต์ถูกตรึงบนไม้กางเขน ( ยอห์น 19:37; วิวรณ์ 1:7) ถ้ายาเวห์คือองค์ผู้ถูกแทงและถูกผู้อื่นมองดู และพระเยซูคือผู้ถูกแทง และถูกผู้อื่นมองดู ดังนั้น พระเยซูก็คือยาเวห์นั่นเอง เปาโลได้ถอดความในพระคำ อิสยาห์ 45:22–23 โดยนำมาเปรียบกับพระเยซูในพระคำ ฟิลิปปี 2:10–11 นอกเหนือจากนี้ นามของพระเยซูยังถูกใช้ควบคู่กับนามของยาเวห์ในคำอธิษฐานอีกด้วย “ขอให้พระคุณและสันติสุขจากพระบิดาเจ้า และพระเยซูคริสตเจ้าของเรา ดำรงอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด” ( กาลาเทีย 1:3; เอเฟซัส 1:2) การกล่าวเช่นนี้ต้องเป็นการดูถูกพระเจ้าอย่างแน่นอนหากพระคริสต์ไม่ใข่พระเจ้า พระนามของพระเยซูปรากฏกับพระนามยาเวห์ในคำสั่งของพระเยซูขณะรับบัพติศมา “...ในพระนามแห่งพระบิดา พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์” ( มัทธิว 28:19; และใน 2 โครินธ์ 13:14 ในพระคำวิวรณ์ ยอห์นกล่าวว่าให้สิ่งมีชีวิตทั้งหมดสรรเสริญพระคริสต์ (พระเมษโปดก) ดังนั้น พระเยซูไม่ใช่หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้น ( วิวรณ์ 5:13)

การกระทำที่สามารถทำให้สำเร็จได้โดยพระเจ้าเท่านั้นเป็นสิ่งที่พระเยซูทรงกระทำได้เช่นกัน พระเยซูไม่เพียงแต่ปลุกคนให้ฟื้นขึ้นจากความตาย ( ยอห์น 5:21; 11:38–44) และยกโทษความผิดบาปได้ ( กิจการ 5:31; 13:38) พระองค์ยังทรงสร้างและครอบครองสรรพสิ่งในจักรวาล ( ยอห์น 1:2; โคโลสี 1:16-17)! ซึ่งในประเด็นนี้ยิ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักยิ่งขึ้นในการที่คนหนึ่งคนใดจะคิดว่าองค์ยาเวห์ตรัสว่า พระองค์ทรงดำรงอยู่แต่เพียงองค์เดียวขณะมีการทรงสร้าง ( อิสยาห์ 44:24) ยิ่งกว่านี้ พระคริสต์ยังทรงมีพระลักษณะซึ่งมีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่ทรงสามารถมีได้ นั่นคือ ความเป็นอมตะนิรันดร์ ( ยอห์น 8:58) การทรงสถิตอยู่ทุกหนแห่ง ( มัทธิว 18:20, 28:20) การทรงทราบทุกสิ่ง ( มัทธิว 16:21) และ ทรงมีฤทธิ์อำนาจอันไม่จำกัด ( ยอห์น 11:38-44)

ตอนนี้ มีอยู่หนึ่งสิ่งที่จะอ้างความเป็นพระเจ้าได้ หรือจะใช้หลอกบางคนเพื่อให้เชื่อว่ามันเป็นความจริง และสิ่งอื่น ๆ ที่จะพิสูจน์ให้เห็นถึงความเป็นพระเจ้า พระคริสต์ทรงกระทำการอัศจรรย์หลายอย่างเพื่อพิสูจน์ว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า และแม้กระทั่งการฟื้นคืนพระชนม์ขึ้นมาจากความตาย นี่เป็นเพียงตัวอย่างการอัศจรรย์ไม่กี่อย่างที่พระเยซูทรงกระทำเช่น เปลี่ยนน้ำเปล่าให้เป็นเหล้าองุ่น ( ยอห์น 2:7) การเดินบนน้ำ ( มัทธิว 14:25) การเพิ่มสิ่งของเป็นทวีคูณ ( ยอห์น 6:11) การรักษาคนตาบอดให้หาย ( ยอห์น 9:7) การรักษาคนง่อย ( มาระโก 2:3) และรักษาคนเจ็บป่วย ( มัทธิว 9:35; มาระโก 1:40–42) และแม้กระทั่งการชุบชีวิตคนให้ฟื้นขึ้นจากความตาย ( ยอห์น 11:43–44; ลูกา 7:11–15; มาระโก 5:35) มากยิ่งกว่านี้ องค์พระคริสต์เองได้ทรงฟื้นคืนพระชนม์จากความตายเช่นกัน ซึ่งห่างไกลจากสิ่งที่เราเรียกว่าพระเจ้าแห่งความตาย และพระเจ้าแห่งการชุบชีวิตของเหล่าผู้ที่ไม่เชื่อ ไม่มีสิ่งใดเหมือนกับการฟื้นคืนพระชนม์ขององค์พระคริสต์ที่ได้รับการกล่าวขานอย่างจริงจังโดยศาสนาอื่น ๆ และไม่มีการกล่าวอ้างใดจะมีคำยืนยันจากพระคัมภีร์มากเท่านี้ ดังที่ดร.แกรี่ ฮาเบอร์มัสกล่าวว่า มีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์อย่างน้อย 12 ประการที่แม้กระทั่งนักวิชาการสำคัญ ๆ ที่ไม่ใช่คริสเตียนยังต้องยอมรับ นั่นคือ

1. พระเยซูทรงสิ้นพระชนม์เพราะถูกตรึงบนไม้กางเขน
2. พระองค์ทรงถูกฝัง
3. ความตายของพระองค์ทำให้เหล่าสาวกของพระองค์สิ้นหวังและหมดหนทาง
4. หลุมพระศพของพระเยซูถูกค้นพบ (หรือมีการอ้างว่าถูกค้นพบ) ในสภาพว่างเปล่าเพียง 2-3 วันต่อมา
5. เหล่าสาวกของพระองค์เชื่อว่าพวกเขาได้พบพระเยซูที่ทรงฟื้นคืนพระชนม์ขึ้นมา
6. หลังจากนั้น เหล่าสาวกก็เปลี่ยนจากผู้ที่มีความสงสัยแคลงใจ เป็นผู้ที่เชื่ออย่างหนักแน่นมั่นคง
7. เรื่องนี้เป็นเรื่องหลักในคำสอนของคริสตจักรในยุคต้น ๆ
8. เรื่องนี้มีการสอนในกรุงเยรูซาเล็ม
9. ด้วยผลของการสอนนี้ คริสตจักรจึงกำเนิดและเติบโตขึ้น
10. วันฟื้นคืนพระชนม์คือวันอาทิตย์ ได้มาแทนวันสะบาโต (วันเสาร์) ซึ่งใช้เป็นวันสำคัญในการนมัสการ
11. ยากอบ ซึ่งเป็นคนขี้สงสัย ได้กลับใจเมื่อเขาเชื่อว่าเขาได้เห็นพระเยซูเป็นขึ้นมาจากความตาย
12. เปาโล ซึ่งเป็นคนต่อต้านคริสเตียน กลับใจจากการที่เขามีประสบการณ์ที่เขาเชื่อว่าเขาเห็นพระเยซูคริสต์ผู้ฟื้นขึ้นมาจากความตาย

แม้จะมีบางคนไม่เห็นด้วยกับรายการข้างต้นนี้ ก็มีเพียงไม่กี่รายการที่จำเป็นต้องได้รับการพิสูจน์ถึงการฟื้นคืนพระชนม์และการก่อตั้งการประกาศพระกิตติคุณของพระองค์ นั่นคือ การสิ้นพระชนม์ของพระเยซู การถูกฝัง การฟื้นคืนพระชนม์ และการปรากฏกายใหม่ ( 1 โครินธ์ 15:1-5) ในเวลาเดียวกัน อาจจะมีทฤษฎีบางอย่างอธิบายถึงข้อเท็จจริงข้างต้น หนึ่งหรือสองประการ แต่มีเพียงการฟื้นคืนพระชนม์เท่านั้นที่อธิบายถึงทุกข้อทั้งหมด ผู้ที่วิจารณ์ คริสเตียนยอมรับว่า บรรดาสาวกอ้างว่าพวกเขาเห็นพระเยซูฟื้นขึ้นมา คำโกหกหลอกลวงหรือความเชื่องมงายใด ๆ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคนได้อย่างเรื่องการทรงฟื้นคืนพระชนม์ คำถามประการแรกคือ พวกเขาจะได้อะไร การเป็นคริสเตียนไม่ได้เป็นตามสมัยนิยม และก็ไม่ได้ทำให้พวกเขามีเงินทองมากขึ้น ประการที่สองคือ คนโกหกไม่ใช่คนที่ยอมตายเพื่อความเชื่อของตนเอง ไม่มีคำอธิบายใด ๆ ที่จะดีไปกว่าการฟื้นคืนพระชนม์ ที่ทำให้บรรดาอัครสาวกเต็มใจที่จะตายอย่างทุกข์ทรมานสำหรับความเชื่อของพวกเขา ใช่แล้ว อาจมีคนเป็นจำนวนมากตายเพื่อคำโกหกที่พวกเขาคิดว่าเป็นจริง แต่ไม่มีใครยอมตายเพื่อในสิ่งที่เขารู้ว่ามันไม่จริง

โดยสรุปแล้ว พระคริสต์กล่าวว่าพระองค์คือองค์ยาเวห์ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้า (ไม่ใช่แค่พระเจ้าองค์หนึ่ง แต่เป็นองค์เดียวผู้เที่ยงแท้) ผู้ที่ติดตามพระองค์ (ชาวยิวซึ่งอาจจะเป็นพวกที่กลัวรูปเคารพ) เชื่อในพระองค์ และกล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า พระคริสต์ทรงพิสูจน์คำกล่าวอ้างของพระองค์ว่าเป็นพระเจ้าโดยผ่านการอัศจรรย์ รวมถึงการฟื้นขึ้นมาจากความตาย อันสะท้านโลกด้วย ไม่มีทฤษฎีอื่นใดอีกแล้วที่สามารถอธิบายข้อเท็จจริงเหล่านี้ได้.





ความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์เหมือนอย่างที่พระคัมภีร์เขียนไว้หรือไม่?

พระเยซูทรงอยู่ที่ไหนในช่วงเวลาสามวันระหว่างการสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์?




คำถาม: พระเยซูทรงอยู่ที่ไหนในช่วงเวลาสามวันระหว่างการสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์?

คำตอบ:
ข้อพระคัมภีร์ 1 เปโตร 3:18-19 บอกว่า “ด้วยว่า พระคริสต์เช่นกันก็ได้ทนทุกข์ครั้งเดียวเท่านั้น เพราะความผิดบาป คือพระองค์ผู้ชอบธรรมเพื่อผู้ไม่ชอบธรรม เพื่อพระองค์จะได้ทรงนำเราทั้งหลายไปถึงพระเจ้า ฝ่ายเนื้อหนังพระองค์ก็ทรงสิ้นพระชนม์ แต่ทรงมีชีวิตขึ้นโดยพระวิญญาณ และโดยพระวิญญาณเช่นกัน พระองค์ได้เสด็จไปประกาศแก่วิญญาณที่ติดคุกอยู่”

คำว่า “โดยพระวิญญาณ” ในข้อ 18 มีโครงสร้างเดียวกับคำว่า “ฝ่ายเนื้อหนัง” ดังนั้นจึงดูเหมือนว่าจะเป็นการดีที่สุดที่จะโยงคำว่า “วิญญาณ” ให้มาอยู่ในมิติเดียวกับคำว่า “เนื้อหนัง” เนื้อหนังและวิญญาณ คือ เนื้อหนังและวิญญาณของพระคริสต์ คำว่า “ทรงมีชีวิตขึ้นโดย (ใน) พระวิญญาณ” ชี้ให้เห็นว่าการทรงแบกบาปและการสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์ ได้แยกวิญญาณของพระองค์ในสภาพมนุษย์ออกจากพระบิดา (มัทธิว 27:46) ความแตกต่างอยู่ที่ ระหว่างเนื้อหนังและวิญญาณ ดังที่มีปรากฏอยู่ในข้อพระคัมภีร์มัทธิว 27:41 และ โรม 1:3-4 ไม่ใช่เนื้อหนังของพระคริสต์และพระวิญญาณบริสุทธิ์ เมื่อการชดเชยบาปของพระคริสต์สำเร็จบริบูรณ์ พระวิญญาณของพระองค์ก็กลับคืนมาสู่ความสัมพันธ์เดิมซึ่งไม่เคยขาดออกจากกันเลย

1 เปโตร 3:18-22 บรรยายความประสานกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ระหว่างการทนทุกข์ของพระคริสต์ (ข้อ 18) และการได้รับพระสิริบนสวรรค์พระองค์ (ข้อ 22) เปโตรแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่ให้ข้อมูลอย่างจำเพาะเจาะจงว่าเกิดอะไรขึ้นระหว่างเหตุการณ์ทั้งสอง คำว่า “เทศนา” ในข้อ 19 ไม่ใช่คำปกติที่ใช้ในพันธสัญญาใหม่เมื่อพูดถึงการประกาศข่าวประเสริฐ แต่หมายถึงการป่าวประกาศ พระเยซูทรงทุกข์ทรมารและสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน พระกายของพระองค์ถูกทำให้สิ้นชีวิต และพระวิญญาณของพระองค์ก็จบสิ้นไปด้วยเมื่อทรงถูกทำให้เป็นคนบาป แต่พระวิญญาณถูกทำให้ฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาและพระองค์ทรงถวายมันให้กับพระบิดา ตามที่เปโตรบันทึกไว้บางทีในระหว่างช่วงเวลาการวายพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์ พระเยซูทรงป่าวประกาศเป็นพิเศษต่อ “วิญญาณที่ติดคุกอยู่”

ในตอนแรก เปโตรกกล่าวถึงผู้คนโดยใช้คำว่า “ชีวิต” ไม่ใช่ “วิญญาณ” (3:20) ในพันสัญญาใหม่ คำว่า “วิญญาณ” เป็นคำที่ใช้กับทูตสวรรค์หรือผีมาร ไม่ใช่มนุษย์ และข้อ 22 ดูเหมือนว่าจะแสดงให้เห็นถึงความหมายนี้ และไม่มีที่ไหนในพระคัมภีร์ที่บอกว่าพระเยซูเสด็จไปนรก หนังสือกิจการ 2:31 กล่าวว่าพระองค์เสด็จไปยัง “แดนมรณา” (จากพระคัมภีร์ฉบับ New International Version) แต่ “แดนมรณา” ไม่ใช่นรก คำว่า “แดนมรณา” หมายถึงอาณาจักรของคนตาย – เป็นสถานที่ชั่วคราวที่พวกเขาอยู่เพื่อคอยการพิพากษา วิวรณ์ 20:11-15 ฉบับ NSAB หรือ New International Version แสดงให้เห็นชัดเจนระหว่างสองประการนี้ นรกคือสถานที่ถาวรและสุดท้ายสำหรับผู้ที่หลงหาย แดนมรณาคือสถานที่ชั่วคราว

องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราทรงจำนนพระวิญญาณของพระองค์ให้กับพระบิดา, แล้วทรงสิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นในช่วงเวลาระหว่างการสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์ พระองค์เสด็จไปยังแดนคนตาย และที่นั่นพระองค์ทรงป่าวประกาศกับเหล่าวิญญาณ (ซึ่งคิดว่าคงเป็นทูตสวรรค์ที่ล้มลงในความบาป, ดู ยูดาส 6 ประกอบ) ผู้ที่, ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง, เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาก่อนน้ำท่วมโลกในสมัยโนอาห์ ข้อ 20 ช่วยให้เรื่องนี้ชัดเจนขึ้น เปโตรไม่ได้บอกเราว่าพระองค์ทรงป่าวประกาศอะไรต่อวิญญาณที่ถูกจองจำเหล่านั้น แต่คงไม่ใช่ข่าวประเสริฐแน่นอนเนื่องจากทูตสวรรค์รับความรอดไม่ได้ (ฮีบรู 2:16) มันคงเป็นการประกาศชัยชนะเหนือซาตานและพวกของมันมากกว่า (1 เปโตร 3:22; โคโลสี 2:15). เอเฟซัส 4:8-10 ดูเหมือนจะแสดงให้เห็นด้วยเช่นกันว่าพระคริสต์เสด็จไปยัง “เมืองบรมสุขเกษม” (ลูกา 16:20; 23:43) แล้วทรงพาผู้ที่เชื่อในพระองค์ก่อนการวายพระชนม์ไปสวรรค์กับพระองค์ด้วย ข้อความในบริบทนี้ไม่ได้บอกอะไรมากมายว่าเกิดอะไรขึ้น แต่นักศึกษาพระคัมภีร์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่านี่คือความหมายของคำว่า “ทรงนำพวกเชลยไปเป็นเชลยอีก”

ดังนั้น ทั้งหมดที่พูดได้คือ พระคัมภีร์ไม่ได้บอกชัดเจนว่าพระคริสต์ทรงทำอะไรในระหว่างสามวันระหว่างการสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์ มันดูเหมือนว่าพระองค์ทรงประกาศชัยชนะเหนือทูตสวรรค์ที่ล้มลงในความบาป และ/หรือผู้ไม่เชื่อ แต่ที่เราสามารถรู้ได้อย่างแน่นอนก็คือพระเยซูไม่ได้ทรงให้โอกาสครั้งที่สองแก่มนุษย์เพื่อที่เขาจะได้รับความรอด พระคัมภีร์บอกเราว่าเราต้องเผชิญกับคำพิพากษาหลังความตาย (ฮีบรู 9:27) ไม่ใช่โอกาสที่สอง ไม่มีคำตอบทีแน่นอนชัดเจนว่าพระเยซูทรงทำอะไรในระหว่างการสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์ บางทีเราจะเข้าใจความลี้ลับนี้ได้เมื่อเราได้ไปอยู่กับพระองค์





พระเยซูทรงอยู่ที่ไหนในช่วงเวลาสามวันระหว่างการสิ้นพระชนม์และการฟื้นคืนพระชนม์?

มีพระเยซูปรากฏอยู่จริง ๆ หรือ? มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระเยซูบ้างหรือไม่?




คำถาม: มีพระเยซูปรากฏอยู่จริง ๆ หรือ? มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระเยซูบ้างหรือไม่?

คำตอบ:
โดยปกติ เมื่อมีคำถามนี้เกิดขึ้น ผู้ถามกำลังเลือกถามคำถาม “นอกเรื่องในพระคัมภีร์” เราไม่คิดว่า พระคัมภีร์ไม่ได้ถูกจัดให้เป็นหลักฐานของการทรงพระชนม์อยู่ของพระเยซู พระคัมภีร์ฉบับพันธสัญญาใหม่มีแหล่งอ้างอิงถึงเรื่องพระเยซูอยู่ถึงหลายร้อยแหล่งด้วยกัน มีผู้บันทึกวันที่ของข่าวประเสริฐในปีคริสตศักราชที่ 2 หรือเกินกว่าหนึ่งร้อยปีหลังจากพระเยซูทรงสิ้นพระชนม์ ถึงแม้จะมีเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง (ซึ่งเราได้โต้แย้งอย่างรุนแรง) ตามหลักฐานทางโบราณกาล การบันทึกที่มีระยะเวลาน้อยกว่า 200 ปี หลังจากเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้น ถือว่าเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มใหญ่ (ทั้งที่เป็นคริสเตียน และที่ไม่ใช่คริสเตียน) ยอมรับว่าจดหมายที่เปาโลเขียนขึ้นนั้น (อย่างน้อยบางฉบับในจำนวนจดหมายทั้งหมด) แท้ที่จริงแล้วถูกเขียนขึ้นโดยเปาโลในช่วงกลางคริสตศักราชที่หนึ่ง ซึ่งเป็นการบันทึกที่เกิดขึ้นน้อยกว่า 40 ปีหลังจากที่พระเยซูคริสต์สิ้นพระชนม์ ซึ่งตามหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรทางโบราณกาล ถือว่าเป็นหลักฐานที่หนักแน่นเป็นพิเศษที่แสดงถึงการปรากฏอยู่จริงของบุคคลหนึ่งที่ชื่อ “เยซู” ในประเทศอิสราเอลในช่วงต้นของคริสตศักราชแรก

และยังเป็นสิ่งสำคัญเช่นกันที่จะระลึกว่าในปีคริสตศักราชที่ 70 โรมันได้บุกรุกและทำลายกรุงเยรูซาเล็ม และเกือบทั้งหมดของประเทศอิสราเอล รวมทั้งได้เข่นฆ่าผู้คนในประเทศนั้นด้วย เมืองทั้งเมืองถูกเผาอย่างราบคาบ! ดังนั้น เราจึงไม่ต้องแปลกใจเลยที่หลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของพระเยซูจะถูกทำลายไปด้วย ประจักษ์พยานหลายคนที่เห็นพระเยซูก็คงถูกฆ่าไปเช่นกัน ข้อเท็จจริงเหล่านี้ทำให้เหลือพยานที่ได้เห็นพระเยซูและยังรอดชีวิตอยู่ในขณะนั้นเหลือเพียงไม่กี่คน

เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่าพันธกิจของพระเยซูนั้นถูกจำกัดขอบเขตให้อยู่เพียงแค่ในบริเวณที่ห่างไกลชุมชน ซึ่งเป็นเพียงมุมเล็ก ๆ ของอาณาจักรโรมันเท่านั้น เรายังคงได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับพระเยซูอย่างมากมายจากแหล่งข้อมูลประวัติศาสตร์อย่างไม่รู้จบ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับพระเยซูได้รวมถึงข้อมูลดังต่อไปนี้

ในศตวรรษแรกของโรมัน มีคนชื่อ ทาซิตัส ซึ่งถือว่าเป็นนักประวัติศาสตร์คนหนึ่งที่บันทึกเรื่องราวได้ถูกต้องแม่นยำมากคนหนึ่งในโลกยุคนั้น ได้กล่าวถึงคนชื่อ “คริสเตียน” ที่มีผู้นับถืออย่างมากมาย ผู้ซึ่งถูกทรมานในช่วงการปกครองของปิลาตในรัชสมัยของไทเบริอุส ซึ่งราชเลขาธิการของจักรพรรดิฮาเดรียน ได้เขียนว่า มีชายชื่อ เครสตัส (หรือคริสต์) มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่หนึ่ง (บันทึกลำดับเหตุการณ์ที่ 15.44)

นักประวัติศาสตร์ชาวยิวอีกผู้หนึ่งชื่อ ฟลาวิอุส โจเซฟฟัส ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดได้อ้างถึง ยากอบว่า “เป็นน้องชายของพระเยซูคนที่ถูกเรียกว่า พระคริสต์” และมีข้อความที่ก่อให้เกิดการโต้เถียงกันที่เขียนไว้ในบันทึกลำดับเหตุการณ์ที่ 18.3 ว่า “ในเวลาขณะนี้ มีเยซู ซึ่งเป็นนักปราชญ์คนหนึ่ง หากเป็นการถูกกฎหมายที่จะเรียกเขาว่า เป็นชายผู้หนึ่ง เนื่องจากชายผู้นี้คือคนที่ทำให้เกิดความสำเร็จอันน่าประหลาด..... เขาคือพระคริสต์ ผู้ฟื้นขึ้นจากความตายในวันที่สามและปรากฏแก่ผู้คนทั้งหลาย ตามอย่างที่บรรดาผู้พยากรณ์ได้กล่าวไว้ล่วงหน้าถึงเรื่องนี้ รวมถึงเรื่องการอัศจรรย์อีกเป็นหมื่น ๆ เรื่องเกี่ยวกับพระเยซู” มีอยู่ฉบับหนึ่งเขียนว่า “ในขณะนี้ มีปราชญ์คนหนึ่งชื่อเยซู เขาเป็นคนประพฤติดี และเป็นที่รู้กันว่าเขาเป็นคนชอบธรรม และมีผู้คนหลายคนท่ามกลางชนชาติยิว และชนชาติอื่น ๆ ได้มาเป็นสาวกของคนคนนี้” ปิลาตเป็นคนสั่งให้ประหารพระเยซูโดยการตรึงที่ไม้กางเขน แต่เหล่าสาวกของพระองค์ก็มิได้ทิ้งพระองค์ไป พวกเขารายงานว่าพระองค์ได้ทรงปรากฏกายต่อพวกเขาหลังจากที่พระองค์ทรงถูกตรึงสามวัน และพระองค์ทรงพระชนม์อยู่ ดังนั้นพระองค์อาจจะเป็นพระเมสสิยาห์ ตามที่ผู้พยากรณ์ได้บอกถึงตามหมายสำคัญไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว”

จูลิอุส อัฟริกานุส ได้อ้างคำกล่าวของนักประวัติศาสตร์ชื่อธัลลัส ในการหารือเรื่องความมืดที่เกิดขึ้นตามมา หลังจากการตรึงพระเยซูบนไม้กางเขน (ข้อเขียนเดิม หน้า 18)

ไพลนี่ เดอะ ยังเกอร์ ในจดหมายฉบับที่ 10:96 บันทึกการนมัสการพระเจ้าของคริสเตียน โดยได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่ว่าคริสเตียนบูชาพระเยซูเหมือนพระเจ้า และคริสเตียนเป็นพวกที่มีศีลธรรมมาก นอกจากนี้แล้วบันทึกนั้นยังกล่าวถึงการงานเลี้ยงฉลองความรักอันยิ่งใหญ่ และอาหารค่ำของพระเจ้าด้วย

ชาวบาบิโลนชื่อทัลมัด (ซันเฮดริน 43เอ) ยืนยันการถูกตรึงบนไม้กางเขนของพระเยซู ในคืนก่อนวันปัสกา และยืนยันข้อกล่าวหาว่าพระเยซูเป็นพ่อมดหมอผี และเป็นพวกนอกรีตของชาวยิว

นักเขียนชาวกรีกในศตวรรตที่สอง ที่ชื่อ ลูเชียนแห่งซามาโอต้า ยอมรับว่าพระเยซูได้รับการบูชาโดยคริสเตียน และพระองค์ทรงนำคำสอนใหม่ ๆ เข้ามา และถูกตรึงบนกางเขนเพื่อพวกเขา ลูเชียนกล่าวว่า คำสอนของพระเยซูได้กล่าวถึงความเป็นพี่น้องกันในบรรดาผู้เชื่อ ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง และความสำคัญของการปฏิเสธพระเจ้าองค์อื่น ๆ คริสเตียนใช้ชีวิตตามบัญญัติของพระเยซู เชื่อว่าพวกเขาได้รับชีวิตนิรันดร์ เป็นพวกที่ไม่วิตกกับความตาย อุทิศตัวเองรับใช้ด้วยความสมัครใจ และไม่ยึดติดกับวัตถุนิยม

มารา บาร์-เซราเพียน ยืนยันว่า มีผู้คนคิดว่าพระเยซูเฉลียวฉลาด และมีคุณธรรม มีหลายคนคิดว่าพระเยซูคือกษัตริย์แห่งประเทศอิสราเอล และถูกนำไปสู่ความตายโดยชาวยิว และชื่อของพระองค์ยังคงอยู่ เนื่องมาจากคำสอนต่าง ๆ ของเหล่าบรรดาผู้เชื่อของพระองค์

นอกจากนี้เรายังมีข้อเขียนของนอสติค (ข่าวประเสริฐแห่งความจริง บันทึกลับของยอห์น ข่าวประเสริฐของโธมัส เรื่องราวของการเป็นขึ้นจากตาย ฯลฯ) ที่ล้วนแต่เขียนถึงพระเยซูทั้งนั้น

จริง ๆ แล้ว เราสามารถเรียบเรียงข่าวประเสริฐใหม่จากเพียงแหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่ชาวคริสต์ที่มีมาแต่เดิม พระเยซูถูกเรียกว่า พระคริสต์ (ข้อมูลโดยโจเซฟฟัส) ทำการ “อัศจรรย์” นำชาวอิสราเอลให้รู้จักคำสอนใหม่ ๆ และถูกตรึงในช่วงเทศกาลปัสกา (ข้อมูลโดยบาบิโลเนียน ทัลมัด) ในแคว้นยูเดีย (ข้อมูลโดยทาซิตัส) แต่พระเยซูตรัสว่าพระองค์เป็นพระเจ้า และจะกลับมาอีกครั้ง (ข้อมูลโดยเอลีซาร์) ซึ่งผู้ที่ติดตามพระองค์เชื่อเช่นนั้น และนมัสการพระองค์เหมือนพระเจ้า (ข้อมูลโดยไพลนี่ เดอะ ยังเกอร์)

โดยสรุปแล้ว มีหลักฐานมากมายที่เกี่ยวกับการทรงพระชนม์อยู่ของพระเยซูคริสต์ ทั้งหลักฐานทางโลก และหลักฐานทางพระคัมภีร์ บางที หลักฐานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือข้อเท็จจริงที่ว่ามีคริสเตียนหลายพันคนในคริสตศักราชแรก รวมถึงอัครสาวก 12 คน ที่ยอมสละชีวิตเพื่อความเชื่อของตนให้แก่พระคริสต์ คนเราจะยอมตายเพื่อสิ่งที่เขาเชื่อว่าเป็นความจริง แต่ไม่มีใครยอมตายเพื่อสิ่งที่เขาคิดว่าเป็นเรื่องโกหกอย่างแน่นอน





มีพระเยซูปรากฏอยู่จริง ๆ หรือ? มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระเยซูบ้างหรือไม่?

พระเยซูทรงถูกตรึงในวันศุกร์หรือ?




คำถาม: พระเยซูทรงถูกตรึงในวันศุกร์หรือ?

คำตอบ:
พระคัมภีร์ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าพระเยซูถูกตรึงบนกางเขนในวันใดของสัปดาห์นั้น มีอยู่สองวันที่คนส่วนใหญ่เชื่อกันว่าเป็นวันที่พระเยซูถูกตรึงคือ วันศุกร์และวันพุธ บางคนไม่อยากถกเถียงว่าเป็นวันใดวันหนึ่งระหว่างวันศุกร์หรือวันพุธ ก็รับเอาวันพฤหัสบดีเป็นวันที่พระเยซูถูกตรึง

พระเยซูได้กล่าวไว้ในพระคัมภีร์มัทธิว 12:40 ว่า “ด้วยว่า โยนาห์ได้อยู่ในท้องปลามหึมาสามวันสามคืนฉันใด บุตรมนุษย์จะอยู่ในท้องแผ่นดิน สามวันสามคืนฉันนั้น” สำหรับคนที่แย้งว่าพระองค์ทรงฟื้นคืนพระชนม์ในวันศุกร์นั้น เขากล่าวกันว่าจะต้องมีหนทางหนึ่งที่บ่งชี้ได้ว่าพระองค์ทรงอยู่ในหลุมพระศพเป็นเวลาสามวัน ในความคิดของชาวยิวในสมัยคริสตศักราชแรกนั้น แค่เพียงบางส่วนของวันพวกเขาก็นับเป็นหนึ่งวันเต็มได้ เนื่องจากพระเยซูทรงอยู่ในอุโมงค์พระศพของวันศุกร์ไม่เต็มวัน วันเสาร์ทั้งวัน และวันอาทิตย์ไม่เต็มวัน เมื่อคิดดังนี้ ก็ถือได้ว่าพระเยซูทรงอยู่ในอุโมงค์พระศพสามวัน หนึ่งในบรรดาข้อโต้แย้งหลัก ๆ สำหรับผู้ที่เชื่อในวันศุกร์คือ ข้อเขียนที่พบในพระคัมภีร์มาระโก 15:42 ว่า พระเยซูทรงถูกตรึง “ในวันก่อนวันสะบาโต” ถ้าในเวลานั้นเป็นสัปดาห์แห่งวันสะบาโต คือวันเสาร์ ดังนั้นข้อเท็จจริงก็คือวันศุกร์คือวันที่พระองค์ทรงถูกตรึง อีกข้อโต้แย้งหนึ่งก็คือ มีพระคัมภีร์บางตอน เช่น มัทธิว 16:21 และลูกา 9:22 เขียนไว้ว่า พระเยซูจะทรงฟื้นคืนพระชนม์ในวันที่สาม ดังนั้น พระองค์ไม่จำเป็นต้องอยู่ในอุโมงค์ศพเป็นเวลาสามวันสามคืนเต็ม แต่เนื่องจากมีการแปลโดยใช้คำว่า “ในวันที่สาม” สำหรับข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ ดังนั้น จึงไม่ใช่ว่าทุกคนจะยอมรับว่านั่นคือการแปลที่ดีที่สุดสำหรับข้อพระคัมภีร์นี้ อีกประการหนึ่ง ในพระคัมภีร์มาระโก 8:31 เขียนไว้ว่า พระเยซูจะทรงฟื้นคืนพระชนม์ “หลังจาก” สามวัน

ส่วนผู้ที่คิดว่าเป็นวันพฤหัสบดีนั้น จะไม่เห็นด้วยกับความคิดเรื่องวันศุกร์ และเรื่องหลัก ๆ ที่พวกเขาแย้งก็คือว่า ในช่วงเวลานั้น มีหลายเหตุการณ์ด้วยกัน (บ้างนับได้ว่ามีมากถึงยี่สิบเหตุการณ์) ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่การฝังพระศพของพระคริสต์จนถึงเช้าวันอาทิตย์ ซึ่งคือเย็นวันศุกร์จนถึงเช้าวันอาทิตย์ กลุ่มนี้ชี้ว่า ประเด็นปัญหาอยู่ที่ว่ามีเพียงวันเดียว ที่เต็มวันระหว่างวันศุกร์และวันอาทิตย์ นั่นคือวันเสาร์ซึ่งเป็นวันสะบาโตของชาวยิว วันที่เกินมาหนึ่งหรือสองวันนั้นแหละ คือวันที่ไม่ใช่ ดังนั้นวันพฤหัสบดีจึงเป็นวันที่ดูสมเหตุสมผลที่สุด โดยสมมติว่า หากคุณไม่ได้พบเพื่อนมาตั้งแต่เย็นวันจันทร์ และครั้งต่อมาที่คุณได้พบเขาคือเช้าวันพฤหัส แล้วคุณพูดว่า “ฉันไม่ได้พบคุณมาสามวันแล้ว” ถึงแม้ว่าโดยความเป็นจริงแล้วระยะเวลานั้นคือ 60 ชั่วโมงเท่านั้น (สองวันครึ่ง) ดังนั้น หากพระเยซูทรงถูกตรึงในวันพฤหัสบดี ตัวอย่างนี้ก็เป็นการแสดงให้เห็นได้ว่าทำไมถึงนับได้สามวัน

พวกที่คิดว่าเป็นวันพุธระบุว่าในสัปดาห์นั้นมีวันสะบาโตสองวัน หลังจากวันสะบาโตวันแรก (ในเย็นวันที่พระเยซูถูกตรึง มาระโก 15:42; ลูกา 23:52-54) พวกผู้หญิงพากันไปซื้อเครื่องหอมกับน้ำมันหอม – การซื้อเครื่องหอมจะมีการซื้อกันหลังวันซะบาโต ( มาระโก 16:1) ความเชื่อเรื่องวันพุธคิดว่า “วันสะบาโตนี้” คือเทศกาลปัสกา (ดูใน เลวีนิติ 16:29-31; 23:24-32, 39) ที่บอกว่า วันศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นที่ไม่ใช่วันที่เจ็ดของสัปดาห์ คือวันสะบาโต ส่วนวันสะบาโตวันที่สองในสัปดาห์นั้น คือวันเสาร์ในสัปดาห์นั้น ซึ่งในพระคัมภีร์ลูกา 23:56 ได้เขียนไว้ว่า เหล่าพวกผู้หญิงที่ไปซื้อเครื่องหอมน้ำมันหอมหลังจากวันสะบาโตวันแรกนั้น ได้กลับไปเตรียมเครื่องหอม และ “หยุดพักในวันสะบาโต” ( ลูกา 23:56). มีข้อโต้แย้งระบุว่า พวกเขาไม่สามารถซื้อเครื่องหอมได้หลังจากวันสะบาโต หรือเตรียมเครื่องหอมก่อนวันสะบาโต ยกเว้นแต่ว่ามีวันสะบาโตสองวัน เมื่อพิจารณาในแง่มุมนี้ หากพระเยซูคริสต์ถูกตรึงบนกางเขนในวันพฤหัสบดี วันสะบาโตอันศักดิ์สิทธิ์ (ปัสกา) จะต้องเริ่มตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ตกในวันพฤหัสบดี และจบลงในเวลาพระอาทิตย์ตกในวันศุกร์ – ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นของวันสะบาโตแห่งสัปดาห์ หรือวันเสาร์นั่นเอง การซื้อเครื่องหอมหลังจากวันสะบาโตแรก (ปัสกา) จะต้องหมายความว่า พวกเขาซื้อเครื่องหอมในวันเสาร์ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฏของวันสะบาโต

ดังนั้น ในมุมมองนี้ ระบุได้ว่า มีเพียงคำอธิบายเดียวที่จะไม่เป็นการละเมิดข้อพระคัมภีร์ในเรื่องพวกผู้หญิงและเครื่องหอม และการรักษาความเข้าใจเดิมของพระคัมภีร์มัทธิว 12:40 ก็คือ พระคริสต์ทรงถูกตรึงในวันพุธ และวันพฤหัสบดีคือวันสะบาโตอันศักดิ์สิทธิ์ (หลังจากนั้น) พวกผู้หญิงพากันไปซื้อเครื่องหอมในวันศุกร์ และกลับมาเตรียมเครื่องหอมในวันเดียวกันนั้น เสร็จแล้วหยุดพักในวันเสาร์ซึ่งเป็นวันสะบาโตประจำสัปดาห์ จากนั้นจึงนำเครื่องหอมไปที่อุโมงค์พระศพในเช้าวันอาทิตย์ พระองค์ทรงถูกฝังในเวลาใกล้ตะวันตกในวันพุธ ซึ่งถือเป็นเวลาย่างเข้าสู่วันพฤหัสบดีในปฏิทินยิวเมื่อใช้ปฏิทินยิวคุณจะมีวันพฤหัสบดี (กลางคืน) วันพฤหัสบดี (กลางวัน) วันศุกร์ (คืนที่ 2) วันศุกร์ (วันที่ 2) วันเสาร์ (คืนที่ 3) และวันเสาร์ (วันที่ 3) เราไม่รู้แน่ชัดว่าพระองค์ทรงฟื้นขึ้นเมื่อใด แต่เรารู้ว่าจะต้องเป็นเวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้นในวันอาทิตย์ (ยอห์น 20:1 “วันอาทิตย์เวลาเช้ามืด” มารีย์ชาวมักดาลามาถึงอุโมงค์ฝังศพ นางเห็นหินถูกกลิ้งออกจากปากอุโมงค์อยู่แล้ว นางจึงวิ่งไปหาซีโมนเปโตร และสาวกอีกคนหนึ่งที่พระเยซูทรงรักนั้น และพูดกับเขาว่า “เขาเอาองค์พระผู้เป็นเจ้าออกไปจากอุโมงค์แล้ว และพวกเราไม่รู้ว่าเขาเอาพระองค์ไปไว้ที่ไหน”) ดังนั้น พระองค์คงจะทรงฟื้นคืนพระชนม์ในเวลาตั้งแต่เช้ามืดทันทีที่พระอาทิตย์ตกดินในเย็นวันเสาร์ ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นสัปดาห์ใหม่ของชาวยิว

มีปัญหาอยู่ประการหนึ่งที่อาจเป็นไปได้สำหรับพวกที่เชื่อเรื่องวันพุธ นั่นก็คือ เหล่าอัครสาวกที่เดินไปกับพระเยซูบนถนนที่จะไปสู่เอ็มมาอูส ซึ่งเป็น “วันเดียวกัน”กับวันที่พระองค์ทรงฟื้นคืนพระชนม์ขึ้นมา (ลูกา 24:13) ซึ่งเหล่าอัครสาวกนั้นจำพระเยซูไม่ได้ และได้บอกท่านถึงเรื่องการตรึงพระเยซูบนไม้กางเขน (ข้อ 24:20) และพูดว่า “วันนี้เป็นวันที่สามตั้งแต่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น” (ข้อ 24:21) ถ้านับจากวันพุธถึงวันอาทิตย์ ก็เป็นเวลา 4 วัน คำอธิบายที่เป็นไปได้คือพวกเขาอาจจะเริ่มนับตั้งแต่เย็นวันพุธตอนที่ฝังพระศพพระองค์ ซึ่งถือเป็นเวลาเริ่มต้นของวันพฤหัสบดีของชาวยิว และจากวันพฤหัสบดีจนถึงวันอาทิตย์ก็นับได้เป็นสามวัน

ในมุมมองเหล่านี้ การที่จะทราบว่าพระคริสต์ทรงถูกตรึงบนกางเขนในวันใดของสัปดาห์นั้น ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ถ้าหากเรื่องนี้สำคัญมาก พระคัมภีร์ของพระเจ้าจะต้องมีการระบุไว้อย่างชัดเจนถึงวันนั้น ๆ แต่สิ่งที่สำคัญคือการที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ และในทางกายภาพ พระองค์ทรงฟื้นคืนพระชนม์จากความตายนั่นต่างหาก สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือเหตุผลที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ นั่นคือเพื่อรับเอาความผิดทั้งหมดที่คนบาปทั้งหลายสมควรได้รับ ในพระคัมภีร์ยอห์น 3:16 และ ข้อ 3:36 ผู้ที่วางไว้ในพระองค์จะได้รับชีวิตนิรันดร์!





พระเยซูทรงถูกตรึงในวันศุกร์หรือ?

พระเยซูเสด็จไปที่นรกในระหว่างช่วงเวลาที่พระองค์สิ้นพระชนม์และฟื้นคืนพระชนม์จริงหรือ?




คำถาม: พระเยซูเสด็จไปที่นรกในระหว่างช่วงเวลาที่พระองค์สิ้นพระชนม์และฟื้นคืนพระชนม์จริงหรือ?

คำตอบ:
จิตวิญญาณของพระเยซูได้เสด็จไปที่นรก ในระหว่างช่วงเวลาที่พระองค์สิ้นพระชนม์และฟื้นคืนพระชนม์จริงหรือ? มีความสับสนเกิดขึ้นเป็นอันมากเกี่ยวกับคำถามนี้ ความคิดนี้เกิดขึ้นมาจากความเชื่อของอัครสาวกที่ระบุว่า “พระองค์เสด็จไปยังนรก” นอกจากนี้ ยังมีข้อพระคัมภีร์บางข้ออธิบายถึงการที่พระเยซูเสด็จไปที่ “นรก” ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ามีการแปลความหมายกันอย่างไร.. ในการศึกษาเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจกันก่อนเป็นอันดับแรกว่า พระคัมภีร์สอนเรื่องราวเกี่ยวกับความตายไว้อย่างไรบ้าง…

ในพระคัมภีร์ภาษาฮีบรู คำที่ใช้ในการอธิบายแดนผู้ตายคือ “Sheol” ซึ่งหมายความถึง “สถานที่ของคนตาย” หรือ “สถานที่ของจิตวิญญาณหรือวิญญาณที่ออกมาจากร่างกายแล้ว” ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ คำที่ใช้ในความหมายถึงนรกนั่น ภาษากรีกใช้คำว่า “Hades” ซึ่งหมายถึง “สถานที่ของคนตาย” เช่นกัน สำหรับข้อพระคัมภีร์อื่นๆในพันธสัญญาใหม่นั้น มีการระบุว่า Sheol และ Hades นั้นคือสถานที่ชั่วคราว ที่ซึ่งวิญญาณถูกพักไว้เพื่อรอการเสด็จกลับมาและการพิพากษาโลกครั้งสุดท้าย ในพระคัมภีร์วิวรณ์ 20:11-15 ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนของทั้งสองสิ่งคือ นรก (ทะเลสาบเพลิง) คือสถานที่สุดท้ายและชั่วนิรันดร์ของผู้ที่ได้รับการตัดสินว่าเป็นผู้หลงหาย ในขณะที่ Hades หมายถึงสถานที่พักชั่วคราว ดังนั้นจึงตอบได้ว่า พระเยซูไม่ได้เสด็จลงไปที่ “นรก” เพราะ “นรก” เป็นเรื่องของอนาคต และจะเกิดขึ้นหลังจากการพิพากษาโลกบนพระที่นั่งใหญ่สีขาวเท่านั้น (วิวรณ์ 20:11-15)

“Sheol” และ “Hades” จึงเป็นเรื่องของสองสถานที่ ( มัทธิว 11:23; 16:18; ลูกา 10:15; 16:23; และกิจการ2:27-31) คือระหว่างเป็นที่อยู่ของผู้ที่ได้รับความรอด และที่ของผู้หลงหาย สถานที่ของผู้ได้รับความรอดนั้น เรียกว่า “สวรรค์” หรือ “อ้อมอกของอับราฮัม” ..สถานที่ของผู้ที่ได้รับความรอด และผู้หลงหายนั้น ถูกกั้นแยกโดย “เหวใหญ่ลึกกั้นขวางอยู่” ( ลูกา 16:26) เมื่อพระเยซูเสด็จขึ้นไปยังสวรรค์ พระองค์จะทรงพาผู้ที่ได้ไปอยู่บนสวรรค์ (ผู้เชื่อ) ไปกับพระองค์ด้วย ( เอเฟซัส 4:8-10) สำหรับผู้ที่หลงหายนั้น คำว่านรกที่เรียกว่า “Sheol และ Hades” ยังเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง คือผู้ที่ไม่เชื่อเมื่อตายไปแล้วก็จะไปอยู่ที่นั่นรอการพิพากษาในอนาคต พระเยซูเสด็จไปที่นรกจริงหรือ คำตอบคือใช่ ดังที่เขียนไว้ใน เอเฟซัส 4:8-10 และ 1 เปโตร 3:18-20

มีความสับสนเกิดขึ้นจากข้อพระคัมภีร์บางบทเช่นใน สดุดี 16:10-11 “เพราะพระองค์มิได้ทรงมอบข้าพระองค์ไว้กับแดนผู้ตาย หรือให้ธรรมิกชนของพระองค์ต้องเห็นปากแดนนั้น พระองค์ทรงสำแดงวิถีแห่งชีวิตแก่ข้าพระองค์...” คำว่า “นรก” ซึ่งไม่ใช่คำแปลที่ถูกต้องของข้อพระคัมภีร์นี้ ที่ถูกต้องควรใช้คำว่า “แดนมรณา” หรือ “Sheol” หลายปีต่อมา พระเยซูตรัสกับโจรที่ถูกตรึงบนไม้กางเขนข้างๆ พระองค์ว่า “วันนี้ เจ้าจะได้อยู่กับเราในแผ่นดินสวรรค์” แม้ว่าพระวรกายของพระองค์อยู่ในอุโมงค์พระศพ ในขณะที่พระวิญญาณของพระองค์เสด็จไป “สวรรค์” เป็นนัยของ Sheol หรือ Hades ..จากนั้น พระองค์ทรงพาคนที่ชอบธรรมที่ตายไปแล้วขึ้นไปกับพระองค์สู่สวรรค์ด้วย น่าเสียดายที่การแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาต่าง ๆ นั้น ผู้แปลเหล่านั้นมักแปลตามความหมายของคำตามภาษาฮีบรูและกรีก ในนัยของคำว่า “Sheol” คำว่า “Hades” และคำว่า “Hell”

บางคนมีความเห็นว่าพระเยซูเสด็จไปที่ “นรก” หรือด้านมืดที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวดของ Sheol หรือ Hades เพื่อไปรับโทษทัณฑ์สำหรับความบาปของเรา ความคิดนี้เป็นความคิดที่ผิดไปจากพระคัมภีร์อย่างสิ้นเชิง! เพราะการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูบนไม้กางเขนนั้น และความเจ็บปวดที่พระองค์ทรงต้องทนทุกข์แทนเรานั้น เพียงพอแล้วสำหรับการไถ่บาปของเรา พระโลหิตของพระองค์นั้นได้ชำระล้างเราจากความบาปทั้งปวงแล้ว (1 ยอห์น 1:7-9) เมื่อพระองค์ทรงถูกตรึงบนกางเขนนั่น พระองค์ทรงได้รับเอาบาปผิดทั้งหมดของมวลมนุษยชาติไว้กับพระองค์เองแล้ว “พระองค์ทรงมีบาปเพราะเรา” ในพระคัมภีร์ 2 โครินธ์ 5:21 เขียนไว้ว่า “เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงกระทำพระองค์ผู้ทรงไม่มีบาปให้บาป เพราะเห็นแก่เรา เพื่อเราจะได้เป็นคนชอบธรรมของพระเจ้าทางพระองค์” ..ความรับผิดชอบต่อบาปนี้ ช่วยทำให้เราเข้าใจถึงความรู้สึกของพระองค์ขณะที่อยู่ในสวนเก็ธเสมาเน เพราะพระองค์ทรงทราบดีว่าจอกแห่งความบาปจะถูกเทลงบนพระองค์ที่ ไม้กางเขนนั้น

ขณะพระเยซูกรรแสงที่บนไม้กางเขนนั้น ตรัสว่า “โอ้ พระบิดาเจ้าข้า ไฉนพระองค์จึงทรงทิ้งข้าพระองค์เสีย?” …. ณ.เวลานั้นเป็นช่วงที่พระองค์ทรงถูกกั้นออกจากพระบิดาเนื่องจากความบาปที่ท่วมท้บพระองค์อยู่นั่นเอง และเมื่อพระองค์ทรงนำพาจิตวิญญาณของพระองค์ พระองค์ตรัสว่า “พระบิดาเจ้าข้า ข้าพระองค์ขอมอบจิตวิญญาณไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์” ความเจ็บปวดที่พระองค์ทรงรับไว้แทนเราได้สมบูรณ์แล้ว จิตวิญญาณของพระองค์ได้เสด็จไปแผ่นดินสวรรค์ด้านสว่างของ Hades พระเยซูไม่ได้เสด็จไปที่นรก ความเจ็บปวดของพระองค์สิ้นสุดลงขณะที่พระองค์สิ้นพระชนม์ ค่าไถ่ของความบาปได้ถูกชำระแล้ว ต่อจากนั้น พระองค์ทรงรอเวลาแห่งการฟื้นคืนพระชนม์ฝ่ายร่างกาย และการคืนมาในพระสง่าราศีของพระองค์ และเสด็จกลับขึ้นสู่สวรรค์ ดังนั้นถ้าถามว่า พระเยซูเสด็จไปนรกจริงหรือ ? ..คำตอบคือไม่ใช่ แต่ถ้าถามว่า พระเยซูเสด็จไปที่ Sheol หรือ Hades จริงหรือ? คำตอบคือใช่แล้ว





พระเยซูเสด็จไปที่นรกในระหว่างช่วงเวลาที่พระองค์สิ้นพระชนม์และฟื้นคืนพระชนม์จริงหรือ?

พระเยซูทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้าหมายความว่าอย่างไร?




คำถาม: พระเยซูทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้าหมายความว่าอย่างไร?

คำตอบ:
พระเยซูไม่ได้เป็นบุตรของพระเจ้าในนัยของพ่อกับลูกชายแบบที่เราคิดอย่างมนุษย์ พระเจ้าไม่ได้ทรงแต่งงาน และมีบุตรชาย พระเยซูทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้าในความหมายที่ว่า พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าในร่างกายมนุษย์ (ยอห์น 1:1,14) พระเยซูทรงเป็นบุตรของพระเจ้าโดยที่มีพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นผูสถิตกับความคิด ในพระคัมภีร์ ลูกา 1:35 เขียนไว้ว่า “ทูตสวรรค์จึงตอบนางว่า "พระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสด็จลงมาบนเธอ และฤทธิ์เดชของผู้สูงสุดจะปกเธอ เหตุฉะนั้นบุตรที่จะเกิดมานั้น จะได้เรียกว่าวิสุทธิ์ และเรียกว่าพระบุตรของพระเจ้า" ในยุคสมัยของพระคัมภีร์นั้น คำว่า “บุตรมนุษย์” ได้ถูกใช้เพื่อบรรยายถึงมนุษย์ธรรมดาเท่านั้น.

อีกตัวอย่างหนึ่งที่พบได้ในพระคัมภีร์ยอห์น 17:12 ที่เขียนว่ายูดาคือ “ลูกแห่งความพินาศ” ในพระคัมภีร์ยอห์น 6:71 บอกเราว่ายูดาเป็นบุตรของซีโมน แล้วทำไมในยอห์น 17:12 จึงเขียนว่ายูดาเป็น “ลูกแห่งความพินาศ”? คำว่า “พินาศ” หมายถึง “การทำลายล้าง” ยูดาไม่ได้เป็นลูก “การทำลายล้าง” แต่สิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่อธิบายถึงชีวิตของยูดา ว่า ยูดาเป็นเครื่องหมายของความพินาศ ในทำนองเดียวกัน พระเยซูเป็นพระบุตรของพระเจ้า ก็คือพระบุตรของพระเจ้าทรงเป็นพระเจ้า ..พระเยซูเป็นพระวาทะของพระเจ้า ( ยอห์น 1:1,14) เท่ากับทรงเป็นพระเจ้านั่นเอง.





พระเยซูทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้าหมายความว่าอย่างไร?

ทำไมการกำเนิดจากหญิงพรหมจารีย์จึงมีความสำคัญมาก?




คำถาม: ทำไมการกำเนิดจากหญิงพรหมจารีย์จึงมีความสำคัญมาก?

คำตอบ:
หลักการเรื่องการกำเนิดจากหญิงพรหมจารีย์เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง (อิสยาห์ 7:14; มัทธิว 1:23; ลูกา 1:27,34) ..ประการแรก มาดูกันว่าข้อพระคัมภีร์ได้บรรยายถึงเหตุการณ์อันอัศจรรย์นี้ไว้ว่าอย่างไร.. ตามที่นางมารีย์ถามทูตสวรรค์กาเบรียลว่า “จะเกิดขึ้นได้อย่างไร?” ทูตสวรรค์ตอบว่า “พระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสด็จลงมาบนเธอ และฤทธิ์เดชของผู้สูงสุดจะปกเธอ” (ลูกา 1:35) ทูตสวรรค์ได้หนุนน้ำใจให้โยเซฟแต่งงานกับนางมารีย์ด้วยถ้อยคำเหล่านี้ “เพราะว่าผู้ซึ่งปฏิสนธิในครรภ์ของเธอเป็นโดยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์” (มัทธิว 1:20) มัทธิวได้ระบุว่า หญิงพรหมจรรย์ “มีครรภ์แล้วด้วยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์” ( มัทธิว 1:18) ในพระคัมภีร์กาลาเทีย 4:4 ก็กล่าวถึงการให้กำเนิดจากหญิงพรหมจรรย์ไว้เช่นกันว่า “พระเจ้าทรงส่งพระบุตรของพระองค์ลงมา โดยกำเนิดจากสตรีเพศ ”

จากข้อพระคัมภีร์ข้างต้นนี้ เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการประสูติของพระเยซูเป็นมาโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่ทำงานในร่างกายของนางมารีย์ เป็นการเกี่ยวข้องกันของสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ (พระวิญญาณ) และสิ่งที่เป็นวัตถุ (ครรภ์ของนางมารีย์) แน่นอนว่านางมารีย์ไม่สามารถทำให้ตนเองตั้งครรภ์เองได้ และในความหมายนี้ เธอเป็น “ภาชนะ” มีเพียงพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่สามารถทำการอัศจรรย์แห่งการให้กำเนิดนี้ได้

การปฏิเสธความเกี่ยวข้องกันทางกายภาพ ระหว่างนางมารีย์และพระเยซูเป็นการแสดงว่า พระเยซูไม่ใช่มนุษย์ที่แท้จริง พระคัมภีร์กล่าวกับเราว่า พระเยซูเป็นมนุษย์เต็มตัว มีร่างกายเหมือนกับพวกเรา นี่คือสิ่งที่พระองค์ได้รับจาก นางมารีย์ แต่ในขณะเดียวกัน พระองค์ก็ทรงเป็นพระเจ้าเต็มตัวพร้อมกับความเป็นนิรันดร์ และทรงบริสุทธิ์ไร้บาปมลทิน ดูในพระคัมภีร์ยอห์น 1:14; 1 ทิโมธี 3:16; และ ฮีบรู 2:14-17

พระเยซูไม่ได้ทรงกำเนิดจากความบาป นั่นคือ พระองค์ไม่มีบาปติดตัวมา ( ฮีบรู 7:26) ดูเหมือนว่าบาปโดยธรรมชาตินั้นได้ถูกถ่ายทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษรุ่นสู่รุ่น ( โรม 5:12, 17, 19) การกำเนิดจากหญิงพรหมจรรย์เป็นหนทางที่จะอยู่เหนือความบาปที่มีมาแต่ธรรมชาติ และเป็นการให้พระเจ้าแห่งชีวิตนิรันดร์มาอยู่ในร่างกายมนุษย์อย่างสมบูรณ์นั่นเอง





ทำไมการกำเนิดจากหญิงพรหมจารีย์จึงมีความสำคัญมาก?